post

6 สิ่งที่การวิ่งมีผลต่อร่างกายคุณมากกว่าการเดิน

ในการพุ่งตรงไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะ คุณจะพบทั้งคนที่มาวิ่งออกกำลังกาย และคนที่มาเดินออกกำลังกาย เพราะทุกคนรู้ดีว่าการเดินและวิ่งต่างเป็นการออกกำลังกายที่เราเรียกว่า คาร์ดิโอ ทั้งคู่ ผลของการคาร์ดิโอนั้นทำให้ระบบไหลเวียนเลือดถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ระบบเผาผลาญทำงานและกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง

แต่ว่าที่จริงแล้วการวิ่งนั้นให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการเดินมาก ซึ่ง 6 ข้อดีต่อไปนี้อาจที่ทำให้คุณอยากลองเปลี่ยนการเดินเป็นการวิ่ง

1. เดินทำให้คุณลงน้ำหนักทั้งเท้ามากกว่าที่ส้นเท้า

ทั้งการเดินและการวิ่ง ร่างกายได้ใช้งานกล้ามเนื้อมัดใหญ่พอ ๆ กัน แต่ในขณะที่ออกกำลังกายด้วยการเดิน เราจะลงน้ำหนักบนฝ่าเท้าไปพร้อมกับที่ลงส้นเท้า ซึ่งมันทำให้เอ็นร้อยหวายต้องรับแรงตึงมากกว่าเวลาที่จ็อกกิ้งหรือสปรินต์ เพราะแรงถูกถ่ายทอดจากส้นเท้าไปยังปลายเท้าอย่างมีจังหวะ การเดินทำให้เอ็นร้อยหวายจึงมีโอกาสได้รับการบาดเจ็บมากกว่า

2. เดินทำให้ข้อต่อทำงานหนักกว่า

การวิ่งด้วยท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยเสริมการส่งและรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการวิ่งที่เอียงตัวโน้มร่างกายไปข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนเท้าขณะที่วิ่งช่วยทำให้ร่างกายพุ่งออกไป แต่การเดินต้องใช้แรงเพื่อส่งตัวเองมากกว่า ข้อต่อก็จะทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างแรงดันหรือผลักตัวเอง

3. เดินทำให้เจ็บได้ง่ายกว่า

การวิ่งสร้างแรงปฏิกิริยากับพื้นมากกว่าการเดิน ถ้าวิ่งด้วยฟอร์มที่ถูกต้องกล้ามเนื้อ ข้อต่อและเส้นเอ็นจะได้รับพลังงานที่เกิดจากการกระทำระหว่างเท้ากับพื้นและเอาไปช่วยให้มีแรงส่งตัวมากขึ้น (แต่ถ้าวิ่งผิดท่าก็สามารถทำให้บาดเจ็บได้มากกว่า)

4. วิ่งสร้างมวลกระดูกได้มากกว่า

ในการวิ่งนั้นร่างกายจะมีการใช้งานส่วนต่าง ๆ มากกว่า ซึ่งส่งผลให้เกิดกระบวนการเสริมสร้างและซ่อมแซมร่างกายโดยอัตโนมัติ ซึ่งการวิ่งได้ช่วยทำให้มวลกระดูกมากขึ้น การไหลเวียนเลือดดี และทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่าง ๆ เพิ่มความแข็งแกร่งในตัวมันเองเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการการใช้งานหนักที่เกิดจากการวิ่งมากกว่าเดิม

5. วิ่งทำให้ใช้พลังงานที่เยอะกว่า

การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องของการวิ่งถูกวิจัยออกมาว่าใช้พลังงานมากกว่าการเดินตั้งแต่สองเท่าถึงสองเท่าครึ่ง นั่นหมายความว่าในเวลาที่เท่ากัน การวิ่งช่วยเผาผลาญพลังงานเยอะกว่า จริงอยู่ว่ามันก่อให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยมากกว่า แต่สำหรับการเผาผลาญแคลลอรี่และเปลี่ยนมันเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการ หรือนำไปสู่การเอาสารอาหารที่สะสมในร่ายกายมาใช้ได้มากกว่าก็ช่วยให้สุขภาพดีขึ้นเร็วกว่า

6. วิ่งมีผลดีต่อฮอร์โมน

ในระยะยาว การวิ่งช่วยในเรื่องของคนที่บกพร่องด้านฮอร์โมนได้เป็นอย่างดี เพราะร่างกายจะปรับตัวเองให้สามารถควบคุมฮอร์โมนที่ผลิตออกมาโดยเฉพาะจากต่อมไทรอยด์ที่สร้างผลเสียต่อร่างกาย เพราะปกติต่อมไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนขึ้นจากภาวะเครียด ซึ่งมันแยกไม่ออกว่าวิ่งชิล ๆ หนึ่งชั่วโมงกับวิ่งหนีเสือหนึ่งชั่วโมงต่างกันอย่างไร ดังนั้นการวิ่งจะกระตุ้นให้ร่างกายเรียนรู้ว่าแอ็คชั่นที่เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งใด และมันจะปรับความเข้าใจของต่อมไทรอยด์ได้ในระยะยาวนั่นเอง