post

“มาราธอน” กีฬาวิ่งระยะไกล เสน่ห์อย่างหนึ่งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

กีฬาวิ่งเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยทั้งพลังกายและพลังใจค่อนข้างมากในการเล่น เนื่องจากเป็นกีฬาที่ใช้สองเท้าวิ่งก้าวออกไป ยิ่งเป็นการออกกำลังกายโดยตัวคนเดียวแล้ว การมีวินัย และใช้พลังใจที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะกีฬาประเภทนี้สามารถหยุดเล่นได้ทุกขณะหากหมดใจ หรือรู้สึกเหนื่อยมาก ๆ ยิ่งเป็นระยะทางวิ่งที่ไกล ๆ อย่างเช่นการวิ่ง “มาราธอน” ด้วยแล้ว หากผู้วิ่งมีจิตใจไม่เข้มแข็งหรือซ้อมมาไม่มากเพียงพอ ร่างกายก็อาจพร้อมที่จะยอมแพ้และล้มเลิกไปได้ง่าย ๆ ดังนั้นกีฬาประเภทนี้จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการใช้ฝึกความมีวินัยของตนเอง โดยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกนั้นได้บรรจุกีฬาประเภทนี้เข้าไว้เป็นหนึ่งในรายการแข่งขันด้วย  ดังนั้นเราไปดูกันดีกว่าว่าเจ้ากีฬามาราธอนนี้ได้มาโลดแล่นอยู่ในรายการแข่งขันระดับโลกนี้ได้อย่างไร

การโลดแล่นของกีฬาวิ่งมาราธอนในการแข่งขันกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิก

การแข่งขันกีฬาวิ่งระยะไกลอย่าง “มาราธอน” นั้นได้ถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการแข่งขันของการแข่งขันกีฬาระดับโลกของมวลมนุษยชาติอย่างโอลิมปิกครั้งแรกในปี ค.ศ.1896 ซึ่งผู้ริเริ่ม ก็คือ นายบารอน ปิแอร์ เดอ คูแบร์เต็ง โดยได้มีการจัดการแข่งขัน ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ซึ่งกติกาการจัดการแข่งขันในครั้งนี้กำหนดให้ผู้เข้าแข่งขันที่วิ่งได้ครบระยะทาง 40 กิโลเมตร (24.85 ไมล์) ก่อนเป็นผู้ชนะ โดยระยะดังกล่าวนี้เป็นระยะทางการวิ่งที่อ้างอิงมาจากตำนานของนายทหารชาวกรีกที่มีนามว่า ฟีร์ดิปปิเดซ (Pheidippides) ผู้ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กีฬาการวิ่งมาราธอนถือกำเนิดขึ้น ส่วนผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ชนะการแข่งขันกีฬาวิ่งมาราธอนในโอลิมปิกคนแรกของโลก ก็คือ สปิริดอน หลุยส์ (Spyridon Louis) ซึ่งมีอาชีพเป็นพนักงานส่งไปรษณีย์ โดยหลุยส์สามารถวิ่งในระยะทาง 40 กิโลเมตร โดยใช้เวลาไปทั้งสิ้น 2.58.50 ชั่วโมง

รู้หรือไม่ระยะการวิ่งมาราธอนสากลในปัจจุบันคือระยะทางเท่าใด

ต่อมาในปี ค.ศ.1908 ได้มีการจัดการแข่งขันมาราธอนภายใต้รายการแข่งขันโอลิมปิกขึ้นอีกครั้งที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้น ระยะทางที่จะใช้ก็ควรจะเป็นระยะทาง 40 กิโลเมตร เช่นเดิม แต่เนื่องจากเพื่อให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ผู้ชื่นชอบการชมและเชียร์การแข่งขันกีฬาเป็นอย่างมาก สามารถมองเห็นนักกีฬาที่สามารถเข้าสู่เส้นเป็นผู้ชนะในรายการแข่งขันนี้ได้อย่างชัดเจน ระยะทางการแข่งขันวิ่งมาราธอนจึงถูกเปลี่ยนเป็น 42.195 กิโลเมตร (26.22 ไมล์)โดยเส้นทางการวิ่งในครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นของการวิ่งอยู่ที่พระราชวังวินเซอร์ ไปสิ้นสุดที่ White City Stadium หน้าพระพักตร์ของพระองค์นั่นเอง และต่อมาในปี ค.ศ.1921 ผ่านไปเป็นระยะเวลา 13 ปี นับจากการจัดการแข่งขันโอลิมปิกที่ลอนดอน ทางสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (IAAF, International Association of Athletics Federations) ก็ได้ออกข้อกำหนดอย่างเป็นทางการให้ระยะทางการแข่งขันวิ่งมาราธอนระดับสากล อยู่ที่ระยะทาง 42.195 กิโลเมตรนั่นเอง

และนี่คือที่มาที่ไปของการโลดแล่นอยู่ของรายการแข่งขันวิ่งมาราธอนในการจัดการแข่งขันโอลิมปิก ทำให้ต่อมาเมื่อมีการจัดการแข่งขันรายการวิ่งมาราธอนโดยทั่วไปจึงยึดเอาระยะทางดังกล่าวเป็นระยะทางที่ใช้ในการจัดการแข่งขัน สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่ไม่ทราบประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการจัดการแข่งขันมาราธอนระดับโลกอย่างในโอลิมปิก ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความรู้และสาระเพิ่มเติมไว้ใช้สำหรับพูดคุยแลกเปลี่ยนกันกับเพื่อน ๆ คอนักวิ่งต่อไป

post

แฟนรักบี้ห้ามพลาด เวิร์ดคัพปีนี้บินลัดฟ้ามาจัดกันที่ประเทศญี่ปุ่น

ข่าวดีสำหรับชาวเอเชียที่ชื่นชอบกีฬารักบี้ เพราะในปี 2019 นี้ จะมีทัวร์นาเมนต์ระดับโลก Rugby world Cup มาจัดกันที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับใครที่อยากบินไปชมกันสด ๆ สัมผัสบรรยากาศกันในสนามก็ย่อมได้ วันนี้ เราได้นำเอาข่าวสารและข้อมูลของการแข่งขันมาฝากกัน

ประเทศญี่ปุ่น เจ้าภาพ Rugby World Cup 2019

การแข่งขัน Rugby World Cup 2019 เป็นทัวร์นาเมนต์การแข่งขันรักบี้ระดับโลกที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 9 ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดขึ้นที่ทวีปเอเชียและเป็นการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์ติดต่อกันในประเทศเดียว อีกทั้งยังเป็นประเทศที่ไม่ได้เป็นจุดกำเนิดดั้งเดิมของกีฬารักบี้อีกด้วย ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการแข่งขันรักบี้ระดับโลกก็เลยว่าได้ โดยก่อนที่ประเทศญี่ปุ่นจะได้สิทธิเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันรักบี้ระดับโลกในครั้งนี้ ทาง BettingTop10.com ก็ได้สืบทราบมาว่าฮ่องกงและสิงค์โปร์ก็ได้ให้ความสนใจและร่วมประมูลสิทธิการแข่งขันครั้งนี้เช่นเดียวกัน

การแข่งขัน Rugby World Cup ในปีนี้จะเริ่มแข่งตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน – 2 พฤศจิกายน 2019 โดยนัดเปิดสนามจะจัดการแข่งขันขึ้นที่สนามกีฬา Ajinomoto, Chofu กรุงโตเกียวและนัดสุดท้ายจะจัดการแข่งขันขึ้นที่สนามกีฬานิสสันในโยโกฮาม่า จังหวัดคานากาว่า แบ่งกลุ่มการแข่งขันออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่ม A ประกอบด้วย ไอร์แลนด์, สก็อตแลนด์, ญี่ปุ่น, รัสเซียและซามัว

กลุ่ม B ประกอบด้วย นิวซีแลนด์, เซาน์แอฟริกา, อิตาลี, นามิเบียและแคนาดา

กลุ่ม C ประกอบด้วย อังกฤษ, ฝรั่งเศส, อาร์เจนตินาร์, สหรัฐอเมริกาและตองกา

กลุ่ม D ประกอบด้วย ออสเตรเลีย, เวลล์, จอร์เจีย, ฟิจิและอุรุกวัย

สนามที่ใช้ในการแข่งขันตลอดทัวร์นาเม้นต์จะจัดขึ้นที่สนามกีฬาในเมืองต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด 12 สนาม ได้แก่ Tokyo Stadium, International Stadium Yokohama, Shizuoka Stadium Ecopa, Hanazono Rugby Stadium, Fukuoka Hakatanomori Stadium, City of Toyota Stadium, Sapporo Dome, Kumamoto Stadium, Kobe Misaki Stadium, Kumagaya Rugby Stadium, และ Kamaishi Recovery Memorial Stadium พร้อมถ่ายทอดออกอากาศให้แฟนกีฬารับชมกันแบบสด ๆ ได้ทางช่อง Nippom TV, NHK และ J Sports

สปอนเซอร์ผู้สนับสนุนการแข่งขัน       

สปอนเซอร์ผู้สนับสนุนการแข่งขันในครั้งนี้เรียกได้ว่าระดมแบรนด์ดังกันมาจากทั่วโลก โดยแบ่งสปอนเซอร์หลักออกได้เป็น 3 กลุ่มดังต่อไปนี้

Worldwide Partners ได้แก่ Emirates, Heineken, Land Rover, Société Générale, DHL และ MasterCard

Official Sponserd ได้แก่ Canon, Secom, Taisho Pharmaceutical, Toto, Mitsubishi Estate และ NEC

Tournament Supplier ได้แก่ Gilbert, Tudor–Rolex, Toppan, Canterbury, NTT DoCoMo และ Ernst & Young

หากคุณเป็นคนที่ชื่นชอบกีฬาและติดตามทัวร์นาเมนต์การแข่งขันระดับโลกเช่นนี้ อย่าลืมแวะมาอัพเดตข่าวสารได้ที่เว็บของเรา ซึ่งเราจะนำทั้งภาพบรรรยากาศ รายงานสดการแข่งขัน และเรื่องราวต่าง ๆ มาอัพเดตให้คุณได้รู้ก่อนใคร