post

เรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองก่อนการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง

การออกกำลังกาย ถือเป็นกิจกรรมที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยให้ความสนใจ เนื่องจากในปัจจุบันผู้คนหันมานิยมให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกายกันเพิ่มมากขึ้น ด้วยปัญหามลพิษ และโรคภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการวิ่งก็ถือเป็นกิจกรรมการออกำลังกายประเภทหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องรอใครมาออกด้วยกัน สามารถที่จะวิ่งได้เลยด้วยตัวคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งในร่มหรือกลางแจ้ง ดังนั้นหากใครที่กำลังเริ่มต้นวิ่ง หรือเพิ่งจะเข้าวงการนี้มา สิ่งที่ควรจะต้องรู้เป็นอันดับต้น ๆ ก็คือวิธีการดูแลร่างกายตนเองทั้งก่อนและหลังการวิ่ง ว่าควรจะต้องมีวิธีการอย่างไรบ้าง ซึ่งในบทความนี้เราก็มีวิธีการดูแลตัวเองก่อนการวิ่งมาฝากกันด้วย

วิธีดูการแลตัวเองก่อนการวิ่ง ทำอย่างไรไปดู

              ขึ้นชื่อว่าการวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งเพื่อสุขภาพ การวิ่งเพื่อเป็นการฝึกซ้อมร่างกายเพื่อไปแข่งตามรายการแข่งขันต่าง ๆ ทั้งระยะใกล้ หรือระยะไกล การดูและตัวเอง และการเตรียมร่างกายตนเองให้พร้อมก่อนการวิ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากนักวิ่งท่านใดที่เตรียมพร้อมร่างกายไม่มากพอแล้วนั้น อาจจะทำให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นได้ ซึ่งนั่นอาจจะผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าผลดีในระยะยาวก็เป็นได้ ดังนั้นเราไปดูกันดีกว่าว่าเราจะสามารถทำอะไรอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายของเราพร้อมแล้วสำหรับการออกวิ่ง

  1. การเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิ่งที่จำเป็นให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น การเลือกรูปแบบของรองเท้าให้เหมาะสมกับลักษณะของเท้าตนเอง เพราะแน่นอนว่าการวิ่งไม่ได้ใช้อะไรมากไปกว่ารองเท้าสำหรับใส่วิ่ง ที่สามารถช่วยป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้กับเท้าของเรา และที่สำคัญ คือ สามารถช่วยลดแรงกระแทกที่อาจจะเกิดขึ้นขณะวิ่งต่อข้อเท้า และข้อเข่าของเรานั่นเอง ดังนั้น การเลือกรองเท้าจึงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่นักวิ่งควรให้ความใส่ใจ
  2. การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อันที่จริงเรื่องโภชนาการเป็นเรื่องที่สำคัญมากอยู่แล้วสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับนักวิ่งนั้น นอกจากการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารสูงในทุก ๆ วันแล้วนั้น ในวันที่ต้องมีการแข่งวิ่งจริง ๆ ก็ควรที่จะรับประทานอาหารก่อนวิ่งอย่างน้อยซัก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายสามารถนำพลังงานที่ได้จากอาหารนั้น ๆ ไปเป็นแรงขับเคลื่อนในการวิ่ง ยกตัวอย่างอาหารที่ควรรับประทานก่อนวิ่ง ได้แก่ กล้วยหอม เพราะหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ากล้วยหอมนั้นเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูงแถมกินเข้าไปแล้วยังไม่รู้สึกแน่นท้องเหมือนอาหารประเภทอื่น ๆ อีกด้วย
  3. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนการวิ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเปรียบเหมือนการกระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัวและพร้อมสำหรับการออกกำลังกาย นอกจากนี้ประโยชน์ของการยืดกล้ามเนื้อมีด้วยกันหลายประการ เช่น ช่วยป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อมีอาการบาดเจ็บได้ อีกอย่างหากมีการวอร์มร่างกายเป็นประจำ ก็จะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อในส่วนที่ได้ออกแรงไปนั้นฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย แม้แต่การนั่งเล่นเกมที่ VWIN ก็ตาม เราแนะนำให้คุณควรหาจังหวะลุกขึ้นยืดเหยียดร่างกายดูบ้างเช่นกัน
  4. การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ คงไม่ดีแน่ ๆ หากพาร่างกายที่ยังพักซ่อมแซมได้ไม่เต็มที่ไปออกกำลังกายที่ต้องใช้พละกำลังค่อนข้างมาก เพราะจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าการไม่ออกกำลังกายเสียอีก
  5. การเตรียมจิตใจให้พร้อม เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะการวิ่งไม่ว่าจะเป็นระยะทางใกล้ หรือไกล ต่างก็ต้องใช้ความมานะอุตสาหะในการที่จะไปให้ถึงยังจุดหมายปลายทางด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นเตรียมใจให้พร้อม ให้มั่นใจว่าเราจะเป็นหนึ่งในคนที่เข้าเส้นชัยได้อย่างแน่นอน

              เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับวิธีการดูแลตัวเองในแบบต่าง ๆ ก่อนการวิ่ง หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้นักวิ่งหน้าใหม่ ๆ ยังมีแรงและกำลังใจที่ยังอยากจะวิ่งกันต่อไป เพราะการออกกำลังกายนั้น เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์แน่นอนหากทำอย่างถูกต้อง และถูกวิธี

post

วิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้นจากการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในการวิ่ง

ในยุคที่กระแสการดูแลสุขภาพกลายเป็นเรื่องสำคัญ การวิ่งถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมด้านสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ผู้คนสามารถเริ่มต้นได้อย่างง่ายดาย ใช้อุปกรณ์น้อยและสามารถทำได้ทุกที่

แต่การวิ่งก็เหมือนกับกิจกรรมอื่นๆ ที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ ซึ่งมีทั้งที่เกี่ยวกับตัวผู้วิ่ง เช่น ท่าทางในการวิ่ง ลักษณะโครงสร้างของร่างกาย รูปร่างของขาและเท้า ตลอดจนสุขภาพส่วนตัว และในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในการวิ่ง อาทิ ลักษณะเส้นทางที่วิ่ง ความลื่น ความลาดชัน ความร้อนของอากาศขณะวิ่ง

เพื่อให้นักวิ่งมีโอกาสบาดเจ็บจากการวิ่งน้อยลง มีวิธีปฏิบัติเบื้องต้นเพื่อป้องกันการบาดเจ็บดังนี้

  1. เลือกรูปแบบการวิ่งให้เหมาะกับรูปร่าง น้ำหนัก สภาพร่างกาย ตลอดจนสภาพเส้นทางและระยะทางที่วิ่ง โดยในช่วงแรกของการวิ่งควรมีระยะทางที่ไม่มากเกินไป เพื่อปรับร่างกายให้เคยชิน ส่วนผู้ที่ต้องการวิ่งเพื่อลดน้ำหนักควรจะเริ่มต้นแบบค่อยเป็นค่อยไป
  2. ตรวจสอบการเดินและวิ่งของตนเองว่ามีลักษณะการลงน้ำหนักอย่างไร เพื่อเลือกใช้อุปกรณ์ เช่น รองเท้า สายรัดหรือเทปรัดให้ถูกต้อง เหมาะสม
  3. ตรวจเช็คร่างกายว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจ ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ รวมถึงปริมาณสัดส่วนไขมันในร่างกาย เพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงบาดเจ็บหรือโรคภัยไข้เจ็บ
  4. ทำการอบอุ่นร่างกายก่อนทำการวิ่ง เป็นการเตรียมพร้อมระบบต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อทำการวิ่งก็เป็นไปอย่างราบรื่น เสี่ยงบาดเจ็บน้อยลง
  5. ทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้พร้อม กล้ามเนื้อที่ผ่านการยืดเหยียดเพียงพอจะมีความยืดหยุ่นดีขึ้น ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ดี มีความคล่องแคล่วเพิ่มขึ้น ร่างกายเกิดความตื่นตัว
  6. ทำการคลายอุ่นร่างกายหลังทำการวิ่ง เพื่อให้กล้ามเนื้อคืนสู่สภาวะปกติ เป็นการลดความเมื่อยล้า ปรับสมดุลการหายใจและการไหลเวียนเลือด
  7. มีเวลาพักฟื้นร่างกายเพียงพอและทานอาหารที่ได้โภชนาการ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการพักฟื้นร่างกายหลังการวิ่ง ขึ้นอยู่กับขนาดของการออกกำลังกาย โดยส่วนใหญ่แล้วหลังการออกกำลังกายในหนึ่งชั่วโมง ร่างกายควรได้รับสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตสูง สารอาหารที่มีไขมันต่ำ นอกจากนี้ในระหว่างการวิ่งและหลังวิ่งก็ควรได้ดื่มน้ำอยู่เสมอ
  8. การเลือกเสื้อผ้าต้องเหมาะสมกับลักษณะการวิ่ง สภาพอากาศ ควรเลือกชุดที่ไม่รัดจนเกินไป รวมถึงชุดที่ไม่เกิดการเสียดสีกับร่างกาย ข้อพับต่างๆ ในระหว่างทำการวิ่ง

นักวิ่งหน้าใหม่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าตนเองได้ทำการเตรียมพร้อมสำหรับการวิ่งเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมักจะได้รับบาดเจ็บหลังจากที่วิ่งไปได้สักระยะเวลาหนึ่ง บางคนไม่เข้าใจและศึกษาให้รู้เกี่ยวกับการบาดเจ็บ ก็อาจจะฝืนจนอาการบาดเจ็บนั้นรุนแรง และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้ในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งการบาดเจ็บเหล่านี้ทำให้นักวิ่งต้องมาเสียเวลาและเสียเงินเพื่อรักษาตัวเองอยู่เนืองๆ

การป้องกันตัวเองก่อนที่จะได้รับบาดเจ็บจากการวิ่ง เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทำได้ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่นักวิ่งต้องตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับการวิ่งในแต่ละครั้ง หากทำอย่างสม่ำเสมอนอกจากจะช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น ยังช่วยส่งเสริมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงได้ตามต้องการเร็วขึ้นด้วย

post

รู้จักปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้นักวิ่งเกิดอาการบาดเจ็บได้

การวิ่งเป็นการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ แต่ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บได้ โดยเฉพาะนักวิ่งที่เพิ่งเริ่มวิ่งใหม่ๆ ที่ขาดการเตรียมตัวหรือศึกษาการเริ่มต้นวิ่งอย่างถูกต้อง

ทุกวันนี้การวิ่งถือเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมสูง นอกเหนือไปจากการวิ่งเป็นประจำทุกวัน นักวิ่งทั้งหลายยังให้ความสนใจไปวิ่งตามงานที่จัดขึ้น ทั้งแบบวิ่งส่งเสริมสุขภาพและแบบวิ่งทำการแข่งขันซึ่งหมุนเวียนจัดกันตลอดทั้งปี การวิ่งกลายเป็นเทรนด์สำหรับผู้คนช่วยกระตุ้นให้เกิดนักวิ่งหน้าใหม่และนักวิ่งอยากเข้าสู่วงการวิ่งมากขึ้น

แต่การเริ่มต้นโดยขาดหลักการที่ถูกต้องของนักวิ่งหลายคน ทำให้พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับอาการบาดเจ็บ ซึ่งมีทั้งที่เป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน และที่กลายเป็นการบาดเจ็บหนักๆ จนถึงขั้นต้องหยุดพักเพื่อทำการรักษาให้หายขาด ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการใช้งานกล้ามเนื้อขาที่ผิดวิธี ท่วงท่าการวิ่งที่ผิดพลาด และการดูแลร่างกายก่อนและหลังทำการวิ่งที่ขาดประสิทธิภาพ

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบาดเจ็บของนักวิ่งหรือผู้ออกกำลังกายด้วยการวิ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่

  1. ปัจจัยจากตัวนักวิ่งเอง ประกอบไปด้วย
    1. อายุของผู้วิ่ง ปกติแล้วอายุของคนเรามีความสัมพันธ์กับขนาดของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี ร่างกายยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ทำให้กล้ามเนื้อจะมีความทนทานน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่การฟื้นฟูของร่างกายรวดเร็วกว่า และเช่นเดียวกันในกลุ่มผู้สูงอายุ ร่างกายก็จะมีความเสื่อมถอยลงไป เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อ ร่างกายจะฟื้นตัวช้ากว่า
    1. สมรรถภาพร่างกายของนักวิ่ง ระดับของสมรรถภาพร่างกายนั้นถือเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ความสามารถในการใช้งานกล้ามเนื้อของแต่ละคนจะมีผลต่อการบาดเจ็บ ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงกว่า กล้ามเนื้อก็จะสามารถรับมืออาการบาดเจ็บได้มากกว่า
    1. โครงสร้างของร่างกาย ถือเป็นปัจจัยที่นักวิ่งแต่ละคนมีแตกต่างกันไป บางคนตัวใหญ่ น้ำหนักมาก เวลาวิ่งก็จะได้รับแรงกระแทกมากกว่าคนตัวเล็กหรือผอมบาง เช่นเดียวกันกับลักษณะรูปทรงของขา กระดูก ฝ่าเท้า รูปร่างเท้า ซึ่งมีผลให้นักวิ่งแต่ละคนมีโอกาสบาดเจ็บแตกต่างกันไป
    1. โภชนาการและวิธีทานอาหาร นักวิ่งที่ดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะเรื่องของการดูแลโภชนาการให้สอดคล้องกับการสร้างกล้ามเนื้อและการซ่อมแซมส่วนที่ใช้งานไป จะมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมต่อการวิ่งมากกว่านักวิ่งที่ละเลยการดูแลเรื่องสารอาหาร
    1. สภาพจิตใจ การออกกำลังกายโดยการวิ่งช่วยทำให้จิตใจปลอดโปร่งได้ แต่นักวิ่งที่วิ่งด้วยสภาวะจิตใจที่ไม่ดีก็อาจจะส่งผลกระทบในทางอ้อมเช่น ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อตึง หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หายใจไม่เป็นจังหวะหรือทำให้ความดันอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม
  2. ปัจจัยจากภายนอกที่ทำให้นักวิ่งบาดเจ็บได้
    1. ระยะเวลาในการวิ่ง การวิ่งที่กินเวลานานๆ โดยขาดการฝึกฝนหรือปรับสภาพร่างกายอย่างต่อเนื่องก่อนเกิดการใช้งานเกินกำลังที่ร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ จะรับมือได้ มักทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้น
    1. ความหนักหน่วงในการวิ่ง ตามปกติแล้วนักวิ่งจะค่อยๆ ปรับระดับของระยะทางที่วิ่งขึ้น แต่ก็จะมีบางคนที่มองข้าม โดยไปลงทำการวิ่งในระยะทางที่ไกลกว่าที่วิ่งเป็นประจำ การทำแบบนี้ร่างกายจะถูกใช้งานเกินขีดจำกัด และมักเกิดการบาดเจ็บในช่วงท้ายๆ ซึ่งเป็นผลเสียอย่างมาก
    1. สิ่งแวดล้อมในการวิ่ง เนื่องจากการวิ่งในแต่ละครั้ง สภาพถนนและสภาพอากาศมีผลไม่น้อยต่อระดับความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายบาดเจ็บ เป็นต้นว่าถนนที่มีความลื่น ไม่เรียบ หรือลาดเอียงสูง ทำให้นักวิ่งต้องใช้กล้ามเนื้อขามากกว่าปกติ นอกจากนี้ในการวิ่งที่ขนาดเส้นทางไม่สัมพันธ์กับปริมาณนักวิ่งก็อาจจะทำให้เกิดการชนหรือกระแทกกันจนบาดเจ็บได้

อาการบาดเจ็บเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จากการวิ่ง หากรู้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่สามารถทำให้บาดเจ็บได้ นักวิ่งก็สามารถหลีกเลี่ยงหรือหาวิธีการป้องกันตัวเองไว้ล่วงหน้าได้

post

ความเข้าใจพื้นฐานก่อนเริ่มต้นการวิ่ง

การวิ่งอาจจะเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุดบนโลก และผู้คนหลายร้อยล้านคนก็รักการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง แค่เพียงมีรองเท้าวิ่งสักคู่กลับเส้นทางที่จะไป คุณก็สามารถเปิดประตูสู่โลกการวิ่งได้แล้ว

ประโยชน์ของการวิ่ง

เป็นคำถามที่ง่าย ๆ แต่เวลาให้นึกคำตอบไม่ค่อยง่ายนัก นั่นเพราะแต่ละคนออกวิ่งด้วยวัตถุประสงค์ที่ต่างกันไป ซึ่งรวบรวมมาได้ประมาณต่อไปนี้

1. การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างหนึ่ง

2. ช่วยในการลดน้ำหนักอย่างได้ผล

3. เป็นกิจกรรมที่ทำได้ในราคาไม่แพง

4. สามารถทำได้ทั้งในร่มหรือออกไปกลางแจ้ง

5. การวิ่งช่วยให้สมองผ่อนคลาย ระบายความเครียดได้

6. การวิ่งสามารถทำด้วยตัวคนเดียวก็ได้ ทำร่วมกันกับคนอื่นก็ได้โดยไม่จำกัด

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย การวิ่งนั้นทำให้หัวใจและปอดได้ทำงาน ซึ่งช่วยให้เกิดการสูบฉีดของเลือดและออกซิเจนอย่ามีประสิทธิภาพ เผาผลาญคาร์บอนไดออกไซด์และขยะเสียจากเซลล์ในร่างกาย ในขณะที่หัวใจเต้นแข็งแรงขึ้น มันก็ปั้มสูบฉีดเลือดออกไปโดยมีผลเสียกับร่างกายน้อยที่สุด ถ้าสรุปในส่วนนี้ก็ประกอบด้วย ขยายขนาดของปอดให้พองโตมากขึ้น, เพิ่มกระบวนการเมตาบอลิซึ่ม, ลดระดับคอเรสเตอรอลและทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

ในส่วนของกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการวิ่งอย่างสม่ำเสมอควบคู่กับการเล่นเวท นักวิ่งจะมีกระดูกที่แข็งแรง มีมวลกระดูกเพิ่ม กล้ามเนื้อจะแข็งแรงและใหญ่ขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่กำลังเป็นประจำเดือนหรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน การวิ่งจะช่วยบรรเทาเรื่องนี้ได้มาก

ในทางด้านสภาวะอารมณ์ การวิ่งทำให้รู้สึกดีตั้งแต่ครั้งแรก นั่นเพราะเป็นความรู้สึกที่คุณเริ่มต้นด้วยความอยากวิ่งเป็นการส่วนตัว ไม่ใช่ออกวิ่งเพราะต้องวิ่ง ดังนั้นการวิ่งทำให้รู้สึกร่าเริง เอ็นโดฟินที่หลั่งออกมาทำให้รู้สึกมีความสุข ร่างกายได้ปลดปล่อยพลังงาน ซึ่งร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซมที่ในระยะยาวจะแข็งแรงขึ้น

สำหรับการลดน้ำหนัก การวิ่ง 1 ชั่วโมงช่วยเผาผลาญแคลอรี่ออกไปจากร่างกายในระดับที่ไม่น่าเชื่อ เพราะมีการบันทึกว่า คนที่หนักราว 70 กิโลกรัม การจ็อกกิ้งระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตรในหนึ่งชั่วโมง ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ไป 584 แคลอรี่ และเพิ่มเป็น 728 แคลอรี่ในคนหนักราว 90 กิโลกรัม หากเป็นคนที่หนัก 105 กิโลกรัมขึ้นไปจะเผาผลาญถึง 872 แคลอรี่ แต่ถ้าเป็นการวิ่งประมาณ 12-13 กิโลเมตรในหนึ่งชั่วโมง การเผาผลาญจะสูงขึ้นเกือบสองเท่า

รู้อย่างนี้หลายคนคงต้องหาแรงจูงใจที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยการวิ่งเสียที