post

รู้จักกับ “บอสตัน มาราธอน” รายการวิ่งที่ต้องถูกยกเลิกในรอบ 124 ปี เพราะผลกระทบจากโควิด-19

เชื่อเหลือเกินว่าปี ค.ศ.2020 จะเป็นอีกหนึ่งปีที่ประวัติศาสตร์จะจารึกไว้อย่างไม่ลืมเลือนว่าเป็นปีที่มนุษยชาติได้ถูกทดสอบอีกครั้งจากธรรมชาติ ด้วยการก่อกำเนิดขึ้นของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) จากประเทศจีน ซึ่งสามารถติดต่อผ่านกันได้จากคนสู่คน ก่อให้เกิดการระบาดของโรคติดต่อลุกลามใหญ่โตไปทั่วโลก ส่งผลให้ต้องมีการปิดประเทศ ปิดการเดินทางเข้าออกระหว่างแต่ละประเทศทั่วโลก และส่งให้ผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก เนื่องจากปัจจุบันในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2020 ยังไม่มีประเทศใดออกมายืนยันว่าสามารถคิดค้นวัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรคนี้ได้ ทำให้ปรากฏการณ์ใหม่ที่เรียกว่า New Normal ที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ต้องใส่ Mask ต้องล้างมือให้สะอาดอาจจะยังคงต้องดำเนินต่อไปอีกเป็นระยะเวลาหนึ่ง

เรียกได้ว่าวิกฤตการณ์นี้ส่งผลกระทบไปทั่วโลกในทุก ๆ วงการ ไม่เว้นแม้แต่วงการกีฬา อย่างการจัดงาน บอสตัน มาราธอน (Boston Marathon) หนึ่งในงานมาราธอนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และเป็น 1 ใน 6 งานวิ่งมาราธอนที่คนชอบวิ่งอยากไปเข้าร่วมด้วยมากที่สุด ซึ่งอีก 5 เมืองที่ใช้ในการจัดงานวิ่งมาราธอนดังกล่าว ประกอบด้วย โตเกียว (เดือนกุมภาพันธ์) นิวยอร์ค (พฤศจิกายน) ชิคาโก (ตุลาคม) เบอร์ลิน (กันยายน) และลอนดอน (เมษายน)

ทำความรู้จักกับบอสตัน มาราธอน

รายการแข่งขันวิ่งมาราธอนชื่อดังอย่าง บอสตัน มาราธอน จะถูกจัดขึ้นทุกปีในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งปกติแล้วจะจัดขึ้นทุกวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนเมษายน ซึ่งตรงกับวัน Patriots (วันผู้รักชาติ) รายการนี้เป็นรายการวิ่งมาราธอนที่ถือได้ว่าเก่าแก่และดีที่สุดงานหนึ่งของโลก โดยงานวิ่งมาราธอนนี้ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในปี 1897 เส้นทางการวิ่งคือเส้นทางพื้นราบสลับเนินเขาตั้งแต่แถบตะวันออกของรัฐแมสซาชูเซตทอดยาวไปจนถึงเมืองบอสตันเป็นระยะทางกว่า 8 กิโลเมตร

ซึ่งนักวิ่งที่จะสามารถเข้าร่วมรายการแข่งขันนี้ได้จะต้องลงแข่งขันรายการอื่นที่ได้รับการรับรองและผ่านการคัดเลือกมาก่อน โดยทำเวลาได้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้น เงินรางวัลสำหรับผู้ชนะไม่ว่าจะเป็นประเภทชายหรือหญิงจะอยู่ที่ประมาณ 150,000 เหรียญสหรัฐ โดยในแต่ละปีจะมีผู้เข้าร่วมแข่งขันกว่า 27,000 คน

แน่นอนว่าในสถานการณ์ที่โควิด-19 กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่รายการแข่งขันนี้จะถูกจัดขึ้น ดังนั้นผู้จัดงานจึงได้ประกาศยกเลิกการจัดการแข่งขันวิ่ง บอสตัน มาราธอน แม้ว่าจะเคยมีความพยายามในการจัดงานโดยการเลื่อนการแข่งขันออกไปเป็นวันที่ 14 กันยายนแล้วก็ตาม แต่การแพร่ระบาดก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด นี่จึงถือเป็นครั้งแรกในรอบ 124 ปี ที่รายการแข่งขันวิ่งมาราธอนระดับตำนานนี้ไม่ถูกจัดขึ้น

อย่างไรก็ตามเชื่อเหลือเกินว่าในอนาคตหากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หยุดลง หรือมีนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์จากประเทศใดประเทศหนึ่งทั่วโลกสามารถคิดค้นยารักษา หรือวัคซีนสำหรับใช้จัดการกับเจ้าไวรัสชนิดนี้ลงได้ เมื่อนั้นก็คงไม่สายที่จะกลับมาจัดการแข่งขันกีฬาวิ่งมาราธอนรายการดีดีนี้อีกครั้ง เพราะจะอย่างไรเสียมนุษยชาติก็คงจะยังไม่หยุดวิ่งเป็นแน่แท้

post

ประเทศไทย กับ การจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

การวิ่ง เป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่สามารถเล่นได้ทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ คนสูงอายุ ผู้หญิงหรือผู้ชาย เป็นกีฬาที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมายอะไรเลยในการออกกำลังกาย เพียงแค่มีรองเท้าวิ่งดีดีซักคู่ กับใจที่อยากมีสุขภาพที่ดี เท่านี้ ก็สามารถที่จะออกไปโลดแล่นในสนามวิ่ง ทั้งในแบบสนามที่เป็นทางการตามสถานศึกษา มหาวิทยาลัย หรือจะเป็นเส้นทางในสวน หรือตามถนนในหมู่บ้านกันได้แล้ว จะว่าไปแล้วปัจจุบันกิจกรรมการวิ่งในประเทศไทยนั้นถูกจัดขึ้นกันอย่างต่อเนื่องและแพร่หลาย ทำให้เกิดนักวิ่งมือใหม่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี

โดยระยะที่จัดให้มีการแข่งขันกัน ก็มีหลาย ๆ ระยะให้เลือกด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระยะเริ่มต้นอย่าง Fun Run 5 กิโลเมตร ระยะมินิมาราธอน 10.50 กิโลเมตร ระยะฮาฟมาราธอน 21.10 กิโลเมตร หรือจะเป็นระยะฟูลมาราธอน 42.195 กิโลเมตร เป็นต้น และสำหรับใครที่มีความสนใจเกี่ยวกับการจัดงานแข่งขันวิ่งในประเทศไทย วันนี้เรามีประวัติความเป็นมาของการจัดงานวิ่งมาราธอนครั้งแรกในประเทศไทยมาฝากกันดังนี้

การจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอนครั้งแรกในประเทศไทย

การแข่งขันมาราธอนที่ถูกจัดครั้งแรกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2530 ซึ่งนับเป็นปรากฎการณ์การวิ่งมาราธอนที่หลาย ๆ คนในยุคสมัยนั้นประทับใจไม่รู้ลืม โดยงานวิ่งในครั้งนั้นใช้ชื่อว่า “งานวิ่งลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (Royal Marathon Bangkok)” โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนั้นขึ้นมามีด้วยกันหลายประการ อาทิ จัดขึ้นเนื่องในโอกาสการเปิดใช้งานสะพานพระราม 9 ซึ่งเป็นสะพานที่ใช้สัญจรไปมาข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร และเพื่อเป็นการร่วมถวายพระพรให้กับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ของปวงชนชาวไทยที่มีพระชนมายุครบ 5 รอบในขณะนั้น นอกจากนี้ยังเป็นการจัดงานเพื่อระดมทุนที่จะใช้ในการสร้างอาคารสยามมินทร์ ซึ่งเป็นอาคารแห่งหนึ่งที่ไว้ใช้สำหรับรองรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชอีกด้วย

โดยการจัดการแข่งขันในครั้งนั้น นอกจากระยะมาราธอน 42.195 กิโลเมตร ที่แบ่งออกเป็นรุ่นอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และรุ่นทั่วไปที่ไม่จำกัดอายุแล้ว ยังมีรายการอื่น ๆ อีกด้วย ได้แก่ รายการระยะฮาฟมาราธอน 2 รุ่นเช่นเดียวกับระยะมาราธอน รายการระยะมินิมาราธอน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือ รุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี รุ่นอายุระหว่าง 20-40 ปี และรุ่นอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ทั้งนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายการมินิมาราธอน 10 กิโลเมตร ที่มีผู้เข้าร่วมสูงสุดถึง 80,000 คน โดยประกอบไปด้วยผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งนี้เพื่อน ๆ สามารถไปหาชมภาพบรรยากาศงานวิ่งครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยกันได้ เพื่อที่จะได้มีโอกาสเห็นถึงจุดเริ่มต้นการจัดการแข่งขันมาราธอนครั้งแรกในประเทศไทยกันได้อย่างเต็มอิ่ม

อย่างไรก็ดีต่อให้เพื่อน ๆ จะอยากออกกำลังกายโดยการวิ่งเพราะวัตถุประสงค์ใด แต่สิ่งสำคัญก็คือการใส่ใจสุขภาพ และวิธีการวิ่งที่ถูกต้อง เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายประเภทนี้โดยปราศจากซึ่งอาการบาดเจ็บใด ๆ โดยที่ไม่จำเป็น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในซักวันเพื่อน ๆ จะสามารถเก็บรายการการวิ่งได้ทุก ๆ ระยะดังที่กล่าวมา

post

เตรียมตัวอย่างไรก่อนก้าวแรกลงสนามมาราธอน

การวิ่งมาราธอนที่ต้องเอาชนะเส้นทาง 42.195 กิโลเมตรไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ถือเป็นกิจกรรมประเภท Endurance Sports ที่ต้องใช้ความทนทานและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด จังหวะการหายใจ โดยระยะทางและรูปแบบการแข่งขันที่แตกต่างจากการวิ่งทั่วไป อาจจะทำให้ร่างกายเผชิญกับอันตรายได้ ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อลงวิ่งมาราธอนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะสำหรับนักวิ่งที่กำลังจะลงวิ่งมาราธอนครั้งแรก

มีคำกล่าวว่า “มาราธอนแรกมีครั้งเดียว” ดังนั้นทุกคนต่างคาดหวังว่าจะสามารถลงวิ่งมาราธอนและจบการวิ่งได้โดยปลอดภัยและทำเวลาได้ตามที่เกมการแข่งขันกำหนด หรือพูดง่ายๆ ว่าวิ่งจบโดยไม่โดนคัท ออฟ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่านักวิ่งเตรียมตัวเองดีแค่ไหนด้วย ซึ่งต่อไปนี้คือข้อแนะนำสำหรับมือใหม่ที่เตรียมลงวิ่งมาราธอนครั้งแรก

  1. เลือกรายการวิ่งที่มีมาตรฐานการจัดงาน เพราะงานที่จัดได้อย่างมีมาตรฐานส่วนใหญ่จะเป็นงานที่เน้นความปลอดภัยสูง ทั้งเรื่องเส้นทาง การดูแลการจราจร การปฐมพยาบาล
  2. เลือกเวลาในการวิ่งที่เหมาะสม นักวิ่งที่ลงวิ่งมาราธอนครั้งแรกจะเผชิญกับการวิ่งที่นานกว่าปกติ หากลงวิ่งท่ามกลางอุณหภูมิที่สูงในช่วงเวลาสาย บวกกับเป็นสนามที่มีลมพัดน้อย หรือมีความชื้นสัมพัทธ์สูง จะทำให้ร่างกายได้รับอันตรายได้ง่าย อุณหภูมิที่ไม่แนะนำให้วิ่งคือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส
  3. สร้างความเคยชินกับรองเท้าวิ่งและเลือกการผูกเชือกที่เหมาะสม นักวิ่งหลายคนชอบลองรองเท้าใหม่ด้วยการใส่ลงวิ่งระยะทางไกลๆ ซึ่งรองเท้าที่ยังไม่ถูกใส่ให้เคยชินอาจจะกัดเท้าได้ รวมไปถึงโครงสร้างของเท้าที่ไม่เหมือนกัน เช่นบางคนหลังเท้าสูง การผูกเชือกรองเท้าแบบไขว้รัดหน้าอาจจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างวิ่งได้ จึงควรหาวิธีผูกเชือกรองเท้าที่เหมาะสมกับตัวเองด้วยเช่นกัน
  4. เตรียมสภาพร่างกายก่อนวิ่ง เป็นที่แน่นอนว่าในคืนก่อนวิ่งร่างกายควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ แต่ก็มีนักวิ่งหน้าใหม่หลายคนที่ตื่นเต้นจนนอนไม่หลับ ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียเร็วกว่าปกติ ดังนั้นควรฝึกนอนให้ตัวเองนอนหลับง่ายๆ และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงก่อนวิ่ง 24 ชั่วโมงด้วย
  5. การวอร์มอัพและเหยียดกล้ามเนื้อต้องมากพอ เพื่อให้กล้ามเนื้อต่างๆ พร้อมสำหรับการทำงานระยะเวลานานๆ และทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวในการรับมือกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น
  6. การทานอาหารก่อนวิ่ง ต้องทานล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง โดยในการวิ่งที่ใช้เวลาเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไป นักวิ่งควรได้รับพลังงานจำพวกคาร์โบไฮเดรต และไม่ควรพลาดที่จะเติมพลังงานระหว่างวิ่งด้วย
  7. การดื่มน้ำที่เพียงพอ ร่างกายที่ขาดน้ำจะส่งผลกระทบต่อนักวิ่งอย่างมาก แต่ก็ไม่ควรดื่มมากจนเกินไปในแต่ละครั้ง โดยปกติในสนามแข่งขันมาราธอนจะมีการให้บริการน้ำดื่มและเกลือแร่ทุกๆ 2 กิโลเมตร หรือในระยะเวลาวิ่งระหว่าง 15-20 นาที ดังนั้นนักวิ่งต้องประเมินตัวเองว่าระหว่างแต่ละจุดให้น้ำนั้นจะใช้เวลาได้พอดี ไม่เกิดการขาดน้ำก่อน

                        การลงแข่งขันมาราธอนถือเป็นการต่อสู้กับหลายอย่าง ดังนั้นการเตรียมตัวที่ดีและการรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งจำเป็นในการเตรียมตัวและขณะวิ่งจึงเป็นเรื่องที่นักวิ่งต้องให้ความสำคัญ ซึ่งทั้งการซ้อมและการเตรียมตัวที่ดีจะช่วยให้นักวิ่งผ่านมาราธอนแรกได้อย่างสวยงามแน่นอน

post

Larry Macon ยอดนักวิ่งมาราธอน 50 รัฐของอเมริกา

ในการวิ่งมาราธอนให้ทั่วอเมริกาต้องลงสนามอย่างน้อย 50 สนามจาก 50 รัฐ นั่นจะทำให้ได้รับการยกย่องและได้รับประกาศนียบัตรผู้พิชิตการวิ่งมาราธอนอเมริกาที่จัดโดยองค์กร 50 State Marathon Club

แน่นอนว่าการวิ่งพิชิตทั่วอเมริกาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะตั้งแต่องค์กรนี้เก็บบันทึกสถิติโดยนับย้อนไปตั้งแต่ปี 1983 ที่เล่ากันว่า Wally Herman ทำสำเร็จคนแรกมาจนถึงปัจจุบัน พวกเขามีรายชื่อผู้วิ่งมาราธอนครบ 50 รัฐสำเร็จเพียง 1,490 รายเท่านั้น การวิ่งให้ครบ 50 รัฐอาจจะไม่ใช่เรื่องยากเกินจะทำ แต่การพิชิตครบ 50 รัฐซ้ำแล้วซ้ำอีกนี่สิที่น่านับถือใจนักวิ่งคนนั้นจริงๆ

วันที่ 28 กันยายน 2003 ที่ Quad Cities เมือง Moline รัฐอิลลินอยส์ Larry Macon สามารถวิ่งครบทั้ง 50 รัฐทั่วอเมริการวมกับวอชิงตัน ดีซีได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ถ้าเป็นบางคนก็อาจจะพอใจเพียงเท่านั้น แต่ชายคนนี้ไม่ได้ต้องการหยุดเท่านี้ เขายังคงมีความกระหายที่จะวิ่งเพิ่มขึ้น

Larry มักจะเล่าเรื่องที่ฟังดูตลก โดยย้อนหลังไปปี 1996 ตอนนั้น Larry Macon ที่เพิ่งได้เป็นนักกฎหมายใหม่หมาดๆ เขาทำงานหนักแม้กระทั่งสุดสัปดาห์ยังทำงานมากถึง 20 ชั่วโมง ในขณะที่คนอื่นอาจจะไปเล่นกอล์ฟ ว่ายน้ำหรือปั่นจักรยานในวันสุดสัปดาห์ ตัวเขาเองยังคงทำงาน ขณะที่นั่งอยู่ในร้านกาแฟในซานอันโตนิโอ เขาชำเลืองมองหนังสือพิมพ์แล้วเห็นโฆษณางานวิ่งมาราธอนซึ่งจะจัดในอีก 3 สัปดาห์ให้หลัง แล้วเขาก็ตัดสินใจจะลงวิ่งดู

หลังจากวิ่งมาราธอนครบ 50 รัฐได้เป็นครั้งแรก Larry ก็ติดใจการวิ่งมาราธอนหนักขึ้นไปอีก เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนของปี 2004 เขาก็พิชิต 50 รัฐได้เป็นรอบที่สอง จากนั้นก็พิชิต 50 รัฐได้ต่อเนื่องกันทุกปี แถมบางปีเขายังทำสำเร็จถึง 2 รอบด้วย ปัจจุบัน Larry เป็นนักวิ่งอันดับหนึ่งของการพิชิต 50 รัฐด้วยการทำไปทั้งหมด 16 ครั้ง

ความบ้าวิ่งของ Larry ทำให้ตัวเลขสนามที่เขาลงวิ่งมีเกิน 100 สนามในทุกๆ ปี โดยเฉพาะในปี 2013 ที่เขาถูกบันทึกว่าเข้าร่วมวิ่งมาราธอนถึง 255 รายการ แม้จะถูกนับเป็นสถิติออฟฟิเชียลแบบทางการแค่ 239 สนาม แต่นั่นก็มากพอที่เขาจะเป็นเจ้าของการลงแข่งขันมาราธอนในหนึ่งปีไว้มากที่สุด

สำหรับคนทั่วไปแล้ว การวิ่งมาราธอนหนึ่งรายการก็ดูน่าเหนื่อยแล้ว แต่คนบ้าวิ่งอย่าง Larry ทำอะไรมากกว่านั้น  เพราะในปี 2013 ระหว่างวันศุกร์ที่ 16 ถึงวันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคมแค่ 3 วัน Larry ลงวิ่งมาราธอนจบถึง 6 สนาม นั่นทำให้เกิดความสงสัยที่มีต่อการวิ่งมาราธอนของ Larry Macon ว่าเขาทำได้อย่างไรพาให้นักข่าวต้องลงไปสืบหาความเป็นไปได้ว่าทำไม Larry สามารถวิ่งในรายการที่ออกสตาร์ทพร้อมกันด้วยซ้ำได้ และได้คำตอบว่าเขาได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษให้ไม่ต้องวิ่งตามเวลาของการแข่งขัน บางสนามได้วิ่งก่อนและบางสนามได้วิ่งตามหลังนั่นเอง ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่สามารถคลายข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องของบางช่วงเวลาที่มันดูไม่ลงตัว แต่ก็ยังคงไม่สามารถหาคำตอบได้ ดังนั้นสถิติของเวิลด์ เรคคอร์ดก็ยังคงถูกระบุเป็นชื่อของ Larry Macon ไว้

ไม่ว่าการวิ่งมาราธอนของ Larry Macon จะมีข้อมูลจริงเท็จมากแค่ไหน แต่ด้วยการที่เขาสามารถพิชิตการวิ่งมาราธอน 50 รัฐซ้ำๆ และครองอันดับนักวิ่งมาราธอนเบอร์หนึ่งด้านจำนวนลงวิ่งอยู่ในตอนนี้ มันก็ทำให้เขาเป็นบุคคลที่น่าเหลือเชื่อจริงๆ

post

50 State Marathon Finisher ความภาคภูมิใจของนักวิ่งผู้พิชิตทั่วอเมริกา

รางวัลที่ยิ่งใหญ่ในการวิ่งมาราธอนของโลกคือการพิชิตเมเจอร์ทั้ง 6 และเป็นผู้ครอบครองเหรียญ Six Stars Finisher แต่หากเป็นนักวิ่งมาราธอนชาวอเมริกันแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ใครทำสำเร็จจะได้รับการยกย่องอย่างมากไม่แพ้กัน นั่นคือการวิ่งพิชิตรายการมาราธอนที่จัดขึ้นในประเทศครบทุกรัฐ

แผ่นดินอเมริกาที่กว้างใหญ่ประกอบขึ้นด้วยรัฐทั้ง 50 รัฐ แต่ละรัฐต่างก็มีชมรมวิ่งของตัวเอง รวมไปถึงในมหาวิทยาลัยก็มีชมรมวิ่งมาราธอนอย่างกว้างขวาง ตลอดจนก็มีการจัดงานวิ่งทั้งระยะสั้นและระยะไกลเป็นประจำ ทำให้อเมริกาเป็นประเทศที่มีงานวิ่งอย่างมากมาย จนเกิดเป็นความท้าทายสำหรับนักวิ่งที่สามารถลงแข่งขันมาราธอนครบทุกรัฐ ซึ่งคนที่จะผ่านเงื่อนไข 2 ข้อแต่ยากสุดๆ ที่ว่าวิ่งมาราธอนครบทั้ง 50 รัฐอย่างน้อยรัฐละ 1 ครั้งและต้องทำเวลา Sub4 หรือใช้เวลาน้อยกว่า 4 ชั่วโมงเท่านั้น

ผู้ที่พิชิตชาลเลนจ์สุดหินนี้ได้จะได้รับการบรรจุชื่อเข้าเป็นสมาชิกของ 50 States Marathon Club พร้อมกับได้รับโล่รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ แต่ว่าตั้งแต่ก่อตั้งองค์กรดังกล่าวขึ้นในปี 2001 มีนักวิ่งที่ประสบความสำเร็จจากการพิชิตมาราธอนครบ 50 รัฐรวม 1,490 ราย (ยังได้รับการยืนยันไม่ครบ) โดยนักวิ่งอายุน้อยที่สุดที่ทำสำเร็จเป็นเพียงเด็กหนุ่มอายุ 17 ที่เริ่มวิ่งได้ 3 ปี แต่ลงสนามไปถึง 367 สนามในตอนนั้น ขณะที่นักวิ่งหญิงอายุ 20 ปีรายหนึ่งสามารถพิชิตมาราธอนครบ 50 รัฐโดยการลงวิ่งมาราธอนไม่ซ้ำรัฐตลอด 50 รายการ

อันที่จริงแล้วการวิ่งพิชิต 50 รัฐเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1983 โดยคนแรกที่ทำสำเร็จคือปู่ Wally Herman จากออนตาริโอ้ แคนาดา แต่เป็นที่รับรู้กับเพียงในกลุ่มวิ่งเล็กๆ ซึ่งกลุ่มนี้เองที่เป็นผู้ริเริ่มรวมตัวสร้างชมรมนักวิ่งพิชิต 50 รัฐขึ้น แต่กว่าจะสำเร็จลงตัวก็ต้องรอกันเกือบ 20 ปีทีเดียว

รายการวิ่งมาราธอนพิชิต 50 รัฐได้รวมเอา 3 รายการในประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของ 6 เมเจอร์หลักเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะบอสตัน มาราธอนของรัฐแมสซาชูเซตส์, ชิคาโก มาราธอนของอิลลินอยส์และนิวยอร์ก มาราธอนของรัฐนิวยอร์ก แต่เนื่องจากช่วงแรกๆ หลายรัฐยังไม่มีการจัดวิ่งมาราธอนอย่างเป็นทางการ ทางองค์กรก็เลยไปเป็นผู้ดำเนินการให้เพื่อให้สามารถเกิดการวิ่งพิชิต 50 รัฐได้ เนื่องจากเป็นการยากไม่น้อยที่จะสามารถวิ่งครบ 50 รัฐได้ง่ายๆ ทางสมาคมที่จัดรางวัลนี้จึงมีรางวัลรายทางให้ด้วย โดยผู้ที่ผ่านการลงแข่ง 10 มาราธอนขึ้นไปสามารถสมัครเป็นสมาชิกของชมรมได้ ในช่วงเวลาหลังจากนั้นก็มีการจัดตั้งองค์กร 50 States Half Marathon Club ขึ้นมาบ้าง

ปัจจุบัน 50 States Marathon Club มีสมาชิกนักวิ่งทั้งชาวอเมริกันและต่างชาติรวม 4,613 คน สะสมสถิติงานวิ่งมาราธอนรวมกันไปเกิน 3 แสนรายการ พร้อมทั้งขยายความสัมพันธ์ไปทั่วทั้งโลก โดยเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการวิ่งพิชิตประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย และพิชิตทั้ง 7 ทวีปตามมา

เรื่องราวของนักวิ่งที่พิชิต 50 รัฐของอเมริกากลายเป็นแรงบันดาลใจผู้คนจำนวนมาก ในวันที่โซเชียล กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารชั้นดี นักวิ่งที่ตั้งเป้าพิชิต 50 รัฐจำนวนไม่น้อยได้บันทึกเรื่องราวความยินดีและความเหนื่อยยากของพวกเขาลงบนสื่อที่ถูกนำเสนอไปทั่วโลก

post

Abbott World Marathon Major Finisher เหรียญพิเศษที่มีไว้เพื่อนักวิ่งมาราธอน

ในวงการนักวิ่งนั้น การวิ่งจบรายการมาราธอนถือเป็นความภาคภูมิใจสำหรับนักวิ่งแต่ละคน ซึ่งโดยปกติแล้วนักวิ่งที่จบการแข่งขันมาราธอนจะได้รับเหรียญที่ระลึกเพื่อแสดงความนับถือซึ่งเรียกว่าเหรียญ Finisher แต่ก็จะมีบางเหรียญที่ถือเป็นเหรียญพิเศษสำหรับนักวิ่งที่วิ่งสำเร็จเงื่อนไขบางอย่างเท่านั้น

บนโลกใบนี้ก็มีรายการมาราธอนที่เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวางเรียกว่าเป็น World Marathon Major จำนวน 6 สนามด้วยกันประกอบด้วย โตเกียว บอสตัน ลอนดอน เบอร์ลิน ชิคาโกและนิวยอร์ก ซึ่งหากนักวิ่งคนไหนได้ลงวิ่งในรายการเหล่านี้ถือได้ว่าผ่านสนามวิ่งที่ยิ่งใหญ่สุดๆ แต่ก็มีบางคนที่ประสบความสำเร็จในการได้เข้าร่วมการแข่งขันจนครบ ทำให้ทาง Abbott บริษัทเอกชนด้านเภสัชกรรมและการผลิตยาเล็งเห็นความพิเศษของผู้ที่วิ่งสำเร็จรายการสำคัญทั้ง 6 ได้ จึงได้จัดทำเหรียญรางวัลพิเศษขึ้นมา

ปี 2006 เป็นปีแรกที่เหรียญ Abbott World Marathon Major Finisher หรือ 6 Stars Finisher ถูกจัดทำขึ้น และกลายเป็นเป้าหมายล้ำค่าของนักวิ่งมาราธอนจากทั่วโลก เนื่องจากมหกรรมวิ่งทั้ง 6 สนามดังกล่าวเริ่มไม่ใช่เรื่องง่ายในการได้เข้าร่วม บางสนามรับคนได้หลักหมื่นขณะที่ความต้องการเข้าร่วมจากทั่วโลกปีละหลายแสนคน และมีอย่างน้อย 4 สนามที่ต้องมีสถิติเวลาที่ดีพอสำหรับทำการสมัคร พร้อมทั้งต้องรอลุ้นการจับลอตโต้เข้าร่วมแข่งขันด้วย

นับตั้งแต่ถือกำเนิดรางวัล Abbott WMM ขึ้นมาจนถึงรายการบอสตัน มาราธอนล่าสุด มีนักวิ่งที่เข้าเส้นชัยครบทั้ง 6 สนามรวมกันเพียง 4,000 กว่ารายเท่านั้น โดยนักวิ่งชาวไทยที่สามารถวิ่งครบทั้ง 6 สนามปัจจุบันมีเพียง 3 ราย รายล่าสุดและที่ใช้เวลาน้อยที่สุดคือนฤพนธ์ ประธานทิพย์ นักวิ่งชั้นนำของไทยที่ใช้เวลาถึง 7 ปีจึงคว้าเหรียญนี้มาได้หลังจบรายการชิคาโก มาราธอนเมื่อตุลาคมปี 2018

ลักษณะของเหรียญ Abbott WMM หรือที่เรียกเล่นๆ ว่าเหรียญพอนเดอริง เนื่องจากมีรูปร่างเป็นเหรียญกลม 6 เหรียญที่สลักรูปสถานที่แข่งขันทั้ง 6 เมเจอร์ใหญ่วางเรียงต่อกันเป็นวงกลม พร้อมด้วยวงกลมที่มีรูปดาวบรรจุเลข 6 ไว้ข้างในที่ว่ากันว่าเหมือนกับโดนัทของค่ายหนึ่งที่ชื่อ “พอนเดอริง” นั่นเอง

ในปีที่ 12 ของการก่อตั้งเหรียญ Abbott WMM กำหนดการของการพิชิตเหรียญในรอบปีนี้จะพิจารณาจาก 7 สนามแข่งขันด้วยกัน โดยสนามแรกเริ่มที่เบอร์ลินในเดือนกันยายน 2018 ที่ผ่านมา จากนั้นก็จะไล่ตามลำดับคือชิคาโก ในเดือนตุลาคม ตามด้วยนิวยอร์ก ในเดือนพฤศจิกายน และในปี 2019 อีก 4 สนามคือโตเกียว ในเดือนมีนาคม บอสตัน กับลอนดอน ในเดือนเมษายน ก่อนจะปิดท้ายด้วยเบอร์ลินอีกครั้งในเดือนกันยายนและนับเป็นการเริ่มต้นรอบปีที่ 13 ของเหรียญนี้ด้วย

ในการพิชิตเหรียญนี้นักวิ่งต้องลงทะเบียนแสดงตนว่าจะวิ่งครบในช่วงเวลาก่อนหน้างานวิ่ง เพื่อรับเหรียญพร้อมใบประกาศนียบัตรที่ยืนยันว่านักวิ่งรายนั้นทำสำเร็จในสิ่งที่เป็นความหมายปองของนักวิ่งทั่วโลก ซึ่งนักวิ่งจำนวนมากที่ทำสำเร็จได้กลายเป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้คนในเวลาต่อมา

เหรียญรางวัลชนะการแข่งขันมาราธอนนอกจากจะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสามารถแล้ว มันยังเป็นเครื่องบ่งบอกความพยายามในการเอาชนะตัวเองด้วย เนื่องจากการพิชิตมาราธอนไม่ใช่สิ่งที่สามารถทำได้เพียงแค่คิด เพราะต้องเตรียมตัวและเตรียมใจอย่างยิ่ง ดังนั้นหากคว้าเหรียญหกดาวหรือ Abbott WMM มาได้มันยิ่งเป็นเรื่องความพยายามขั้นสุดยอดของนักวิ่งคนหนึ่งจริงๆ

post

6 เคล็ดลับ เตรียมความพร้อม ก่อนวิ่งมาราธอน

การวิ่งมาราธอนเป็นการวิ่งระยะไกล ที่ต้องใช้ความอึดทนพอสมควรจึงจะสามารถวิ่งไปถึงเส้นชัยได้ ดังนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมร่างกายให้ดี เพื่อให้พร้อมสำหรับการวิ่งมากขึ้นและลดความเสี่ยงการบาดเจ็บระหว่างวิ่งมาราธอนด้วย โดยเราก็มี 6 เคล็ดลับมาแนะนำกันดังนี้

1.ยืดกล้ามเนื้อก่อนวิ่ง

ไม่ว่าจะวิ่งระยะใกล้หรือระยะไกล ควรเริ่มจากการยืดกล้ามเนื้อก่อน เพื่อคลายความตึงของกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่น จึงวิ่งได้นานขึ้นโดยไม่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บนั่นเอง โดยแนะนำให้ทำท่ายืดเหยียดหลาย ๆ ท่าผสมกันไปประมาณ 15 นาที แล้วจึงค่อยเริ่มต้นวิ่ง

2.ทานอาหารที่มีประโยชน์

การทานอาหารที่มีประโยชน์ก็เป็นการเตรียมพร้อมให้กับร่างกายได้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และเพิ่มพลังงานให้ร่างกายมีความพร้อมสำหรับการวิ่งในระยะทางไกลมากขึ้น แต่ควรกินอาหารก่อนวิ่งอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้อาหารย่อยและไม่เกิดอาการจุกแน่นท้องขณะวิ่งนั่นเอง

3.พักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนน้อยจะส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลีย และไม่สามารถวิ่งมาราธอนให้ถึงเส้นชัยได้ ทั้งยังอาจเกิดการบาดเจ็บระหว่างวิ่งอีกด้วย ดังนั้นควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งใครที่ชอบเล่นคาสิโนออนไลน์บนเว็บ VWIN จนดึกเป็นประจำ ก็ต้องปรับเปลี่ยนเวลาการเล่นสักนิด เพื่อไม่ให้รบกวนเวลานอนจนเกินไป

4.ซ้อมวิ่งบ่อย ๆ

การจะเป็นนักวิ่งมาราธอนที่ดีได้ จะต้องหมั่นซ้อมวิ่งเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายเกิดความเคยชิน และสามารถวิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อต้องลงแข่งจริง ดังนั้นควรจัดตารางมาซ้อมวิ่งอยู่เสมอ ซึ่งการฝึกซ้อมวิ่งอาจวิ่งด้วยระยะทางเท่าไหร่ก็ได้ไม่ต้องเป๊ะมาก เอาตามที่ร่างกายไหว เพราะหากฝืนมากเกินไปก็จะเกิดอันตรายได้

5.เลือกรองเท้าให้เหมาะสม

การฝึกซ้อมและการมีทักษะในการวิ่งเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องเลือกรองเท้าให้เหมาะสมด้วย เพราะรองเท้าที่ดีจะทำให้คุณวิ่งมาราธอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย โดยควรเลือกรองเท้าที่สามารถรองรับการกระแทกได้ดี ออกแบบมาเพื่อการวิ่งระยะไกลโดยเฉพาะ ที่สำคัญควรมีความนุ่มสวมใส่สบายและระบายอากาศได้ดี ทั้งนี้การเลือกรองเท้าวิ่งที่ดีและเหมาะสมจะทำให้คุณมีชัยไปกว่าครึ่งเลยทีเดียว

6.พกน้ำดื่มติดตัวไปด้วย

น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญที่นักวิ่งมาราธอนจะขาดไม่ได้เลย เพราะเมื่อวิ่งด้วยระยะทางไกลเป็นเวลานาน ร่างกายอาจขาดน้ำจากการเสียเหงื่อและมีอาการกระหายน้ำได้ ดังนั้นจึงควรพกน้ำติดตัวไปด้วย จะได้หยิบออกมาดื่มได้ตลอดทางนั่นเอง

การจะวิ่งมาราธอนให้ไปถึงเส้นชัยได้สำเร็จ จะต้องมีการเตรียมความพร้อมหลาย ๆ อย่าง เพื่อส่งเสริมให้การวิ่งเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นมาเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองด้วย 6 เคล็ดลับเหล่านี้กันดีกว่า แล้วคุณจะกลายเป็นนักวิ่งมาราธอนมืออาชีพได้ไม่ยาก

post

สวิทเซอร์ ผู้เปลี่ยนแปลงบอสตันมาราธอนสู่ความเท่าเทียม

บอสตัน มาราธอน หนึ่งในหกมาราธอนใหญ่ของโลก ได้ก่อให้เกิดตำนานนักวิ่งหญิงขึ้นมาหลายคน แต่คนที่ต้องถูกจดจำมากที่สุดเพราะเป็นผู้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหญ่ต้องเป็น “แคทรีน สวิทเซอร์”

ย้อนไปในวันที่ 5 มกราคม 1947 หนูน้อยแคธี่ถือกำเนิดขึ้นในเมืองอัมเบิร์ก เยอรมนี ที่ซึ่งพ่อแม่อยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้กองทัพสหรัฐประจำฐานทัพที่ยุโรป สองปีต่อมาจึงได้เดินทางกลับมายังอเมริกา ใช้ชีวิตตามลำดับจนเข้าเรียนที่ซีราคิวส์ ยูนิเวอร์ซิตี้ในปี 1967 ซึ่งขณะนั้นบอสตัน มาราธอนเป็นการแข่งขันมาราธอนที่ฝ่ายจัดยังไม่อนุญาตให้นักวิ่งหญิงลงทำการแข่งขัน

หนึ่งปีก่อนหน้านั้น บอสตัน มาราธอนมีนักวิ่งหญิงแอบลงทำการวิ่งท่ามกลางหมู่นักกีฬาชาย เธอชื่อบ็อบบี้ กิ๊บบ์ แต่ในปี 1967 สวิทเซอร์ลงทำการแข่งขันแบบมีบิบหมายเลขติดบนตัว บิบหมายเลข 261 เกิดจากการสมัครลงวิ่งในสังกัดซีราคิวส์ แฮร์เรียส แอทเลติก คลับ หรือชมรมนักกีฬาของสถาบันที่สวิทเซอร์เรียนอยู่ในขณะนั้น การกรอกใบสมัครของเธอระบุว่าเพศเป็นกลางโดยใช้ชื่อย่อว่า K.V. Switzer นอกจากจะผ่านขั้นตอนการตรวจใบสมัครแล้ว ในการตรวจตราของวันงานที่เกิดกว่าการดูแลทั่วถึงทำให้สวิทเซอร์หลุดรอดสายตาฝ่ายจัดการแข่งขันจนกระทั่งเธอเริ่มออกวิ่ง

จ็อค เซมเปิ้ล ช่างภาพของฝ่ายจัดการแข่งขันเป็นคนที่สังเกตเห็นเธอ  เขาพยายามพุ่งตัวเข้าไปคว้าแคทรีนเพื่อจะเอาบิบออกจากตัวเธอให้ได้ ในขณะที่ปากก็ตะโกนว่า “เอานังปิศาจนั้นออกไปจากการแข่งขันของฉัน แล้วเอาเบอร์นั่นมาเดี๋ยวนี้” แต่ทอม มิลเล่อร์ นักอเมริกันฟุตบอลและนักขว้างค้อนที่ลงวิ่งมาข้างแฟนสาวของตัวเองคว้าตัวเซมเปิ้ลแล้วเหวี่ยงไปบนฟุตบาทได้

แคทรีน สวิทเซอร์วิ่งจนจบการแข่งขันของบอสตัน มาราธอนด้วยเวลา 3 ชั่วโมง 7 นาที 29 วินาที เป็นลำดับที่ 59 จากทั้งหมด และมันทำให้สมาคมนักกีฬาสมัครเล่นของอเมริกาและสมาคมนักกีฬาของบอสตันไม่พอใจ พวกเขาสั่งห้ามผู้หญิงลงแข่งขันมาราธอนทุกรายการร่วมกับนักวิ่งชาย

“ผู้หญิงจะมาวิ่งในมาราธอนไม่ได้เพราะกฏมันห้ามไว้ ถ้าไม่มีกฏสังคมมันต้องวุ่นวายแน่ ผมไม่ได้ออกกฏแต่ผมพยายามรักษามัน เราไม่มีที่ว่างในมาราธอนสำหรับคนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้วิ่ง ถ้าผู้หญิงคนนั้นเป็นลูกสาวผม ผมจะฟาดเข้าให้” วิล โคลนี่ย์ ผู้อำนวยการของบอสตัน มาราธอนในตอนนั้นกล่าวถึงเรื่องนี้

เมื่อเป็นเช่นนั้น การรณรงค์เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ที่เท่าเทียมกันโดยสวิทเซอร์และนักวิ่งหญิงคนอื่นก็เริ่มขึ้น จนกระทั่ง 5 ปีต่อมา การแข่งขันบอสตัน มาราธอนก็ดำเนินการแก้ไขกฏให้นักกีฬาหญิงสามารถลงแข่งขันบอสตัน มาราธอนได้อย่างเป็นทางการ

“ฉันรู้ว่าถ้าฉันโดยเอาออกจากการแข่ง จะไม่มีใครเชื่อว่าผู้หญิงวิ่ง 26 ไมล์กว่าได้ ถ้าฉันออก ทุกคนจะพูดว่าก็แค่มาวิ่งโชว์ตัว ถ้าฉันเลิกวิ่ง โลกของนักกีฬาผู้หญิงจะดันถอยหลังแทนที่จะพุ่งไปข้างหน้า ถ้าเลิกฉันจะไม่มีโอกาสวิ่งบอสตันอีก จ็อค เซมเปิ้ลและคนแบบเขาก็จะชนะ ความกลัวและความอัปยศนั้นกลายเป็นพลังความโกรธของฉัน” แคทรีนเล่าถึงสิ่งที่เธอคิดในวันนั้น

ห้าสิบเอ็ดปีต่อมาที่บอสตัน มาราธอน จำนวนผู้สมัครวิ่งหญิงมีถึง 13,000 คน เทียบกับวันที่เธอเป็นนักวิ่งหญิงเพียงคนเดียวมันต่างกันราวฟ้ากับเหว

แคทรีน สวิทเซอร์ได้รับยกย่องจากนิตยสารรันเนอร์ เวิร์ลด์ให้เป็นนักวิ่งหญิงแห่งทศวรรษ (1967-1977) ในปี 2013 ที่เธอกลับไปเข้าร่วมงานวิ่งที่บอสตัน มาราธอน เธอเล่าแบบติดตลกว่าไหล่ของเธอเปียกไปหมดเพราะผู้หญิงมากมายที่เข้ามากอดและร้องไห้ด้วยความยินดี สิ่งที่แคทรีนทำได้เปลี่ยนโลกของผู้หญิง พวกเธอทำให้โลกเห็นว่าทำอะไรได้บ้าง รวมไปถึงสิ่งที่ยากอย่างการวิ่งมาราธอน

post

5 งานวิ่งไทย ๆ ที่ต้องไปสักครั้ง

การวิ่งกลายเป็นกระแสฮิตของคนไทยมากขึ้น ทำให้มีการจัดกิจกรรมวิ่งทุกประเภทเกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ ทั้งที่จัดเป็นประจำมาแล้วหลายปี และที่เพิ่งจัดให้ครั้งสองครั้ง แต่ที่เป็นไฮไลท์สำหรับนักวิ่งที่ต้องลงรายการว่า Must Run หรือต้องไปให้ได้ 5 งานมีอะไรบ้างลองมาดูกัน

“จอมบึงมาราธอน จ.ราชบุรี”

งานวิ่งที่มักจะมาอันดับหนึ่งในใจนักวิ่งส่วนใหญ่ เป็นคอร์สวิ่งที่จัดอย่างต่อเนื่องมา 30 ปีโดยผู้จัดงานท้องถิ่น ถึงขนาดมีสโลแกนเก๋ ๆ ว่า “งานวิ่งชาวบ้าน มาตรฐานสากล” จัดงานช่วงเดือนมกราคมทุกปีในเวลาที่อากาศกำลังสบายดี เส้นทางไม่ยากไม่ง่าย เหล่านักวิ่งเมืองกรุงในยุคที่ยังไม่มีงานในต่างจังหวัดมากนักมักพุ่งไปที่นี่เพราะระยะทางไม่ไกลจากเมืองหลวงมากนัก แถมที่นี่ยังเป็นโมเดลต้นแบบงานวิ่งอื่น ๆ ในเมืองไทยทั้งการจัดงานและกองเชียร์ด้วย

“บุรีรัมย์มาราธอน จ.บุรีรัมย์”

งานวิ่งที่บุรีรัมย์เกิดจากความสามารถในการสั่งการให้คนทั้งเมืองแสดงความร่วมมือร่วมใจ แบ็คอัพงานใหญ่ทั้งภาคการเมือง ภาคธุรกิจ ทำให้สามารถผลักดันงานให้กลายเป็นแถวหน้าได้ไม่ยาก แต่ถึงอย่างนั้นหัวใจที่ทำให้งานวิ่งบุรีรัมย์มาราธอนได้รับการยอมรับคือเรื่องของการจัดงานได้ยิ่งใหญ่ เส้นทางวิ่งออกจากสนามแข่งรถอันดับหนึ่ง ผ่านเส้นทางที่กองเชียร์ไม่เคยหยุดส่งเสียง ทำให้นักวิ่งมีพลังขยับขาไปข้างหน้าเรื่อย ๆ เป็นหนึ่งในงานที่มีอัตราสมัครเต็มเร็วที่สุด งานนี้จัดประจำทุกเดือนกุมภาพันธ์

“บางแสน21 จ.ชลบุรี”

บางแสนเป็นเจ้าภาพจัดงานวิ่งระยะฮาล์ฟต่อเนื่องหลายปีก่อนเพิ่มมาราธอนเข้าไปในโปรแกรมด้วย แต่ที่เป็นสุดยอดของบางแสน 21 คือการที่ได้รับรองมาตรฐาน IAAF ระดับเหรียญทองแดงรายการแรกของไทย ซึ่งนักวิ่งสามารถใช้สถิติยื่นแข่งขันในรายการระดับนานาชาติได้ทั่วโลก เส้นทางงานวิ่งบางแสนมีทั้งส่วนยากและง่ายผ่านจุดสำคัญ ๆ ในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข โดยครึ่งหนึ่งของเส้นทางจะวิ่งขนานไปกับชายหาดบางแสน ส่วนการวิ่งมาราธอนยังไม่สมบูรณ์เท่าระยะฮาล์ฟ งานวิ่งบางแสนจัดในช่วงกลางเดือนธันวาคม

“ลากูน่า ภูเก็ต มาราธอน จ.ภูเก็ต”

ความขึ้นชื่อของภูเก็ตมาราธอนคือการที่มันเป็นสนามสายโหดหิน เนื่องจากนักวิ่งต้องสู้กับเนินวัดใจหลายจุดตลอดเส้นทาง รวมถึงเรื่องความร้อนและแดดที่ว่าโหดกว่าใคร แถมยังเสี่ยงดวงว่าจะเจอฝนหรือไม่ด้วย งานวิ่งนี้จัดช่วงเดือนมิถุนายนทำให้เป็นรายการใหญ่ที่ไม่กระชั้นชิดกับรายการช่วงฤดูหนาวของสนามวิ่งอื่น

“เชียงราย อินเตอร์เนชั่นแนล มาราธอน จ.เชียงราย”

อีกหนึ่งงานวิ่งที่ได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมากเมื่อครั้งจัดงานในปี 2017 เส้นทางเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-ลาว ทั้งบรรยากาศ เส้นทางและการอำนวยความสะดวก หลายเสียงบอกว่าพร้อมมาวิ่งอีก น่าเสียดายที่ปี 2018 ที่ผ่านมางานย้ายไปจัดวิ่งในตัวเมืองเชียงรายภายใต้การสนับสนุนของสายการบินหนึ่ง ถ้าเชียงราย อินเตอร์เนชั่นแนลได้กลับมาจัดอีกครั้งในช่วงเวลาเดิมคือกรกฎาคม ถือเป็นงานที่นักวิ่งไม่ควรพลาด

post

เทคนิคการฝึกวิ่งมาราธอนระยะสั้นให้วิ่งได้จนจบการแข่งขัน

                นอกจากการวิ่งจะเป็นการออกกำลังกาย และเป็นกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันระดับโลกแล้ว การวิ่งยังเป็นการท้าทายศักยภาพส่วนบุคคลในชีวิตได้อีกด้วย โดยการแข่งขันมาราธอนในปัจจุบันนั้น ได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นมามากมายหลายรายการ ซึ่งในแต่ละรายการนั้นเป็นการวิ่งเพื่อความบันเทิงและสนุกสนาน เพื่อให้ได้รับสุขภาพที่ดีไปพร้อมกันกับความบันเทิงในการวิ่ง

การแข่งขันวิ่งมาราธอน คือ การแข่งขันวิ่งระยะทางไกลตั้งแต่ 10 กิโลเมตร ขึ้นไป โดยที่ใครสามารถเป็นผู้ไปถึงเส้นชัยก่อนได้นั้นจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันในแต่ละรายการ ซึ่งสำหรับผู้ที่ได้ฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดีแล้ว จะสามารถวิ่งแข่งขันกับนักวิ่งรายอื่นได้อย่างง่ายดาย เพื่อจะไปให้ถึงเส้นชัยเป็นคนแรก แต่สำหรับนักวิ่งที่ลงแข่งในรายการแรกหรือยังเป็นมือสมัครเล่นที่พึ่งเริ่มลงแข่ง อาจจะทำให้ไปไม่ถึงเส้นชัยได้อย่างง่าย จนอาจจะต้องถอนตัวออกจากการแข่งขันกลางคัน เนื่องจากไม่มีแรงและพละกำลังในการวิ่งไปให้ถึงเส้นชัย ดังนั้นหากได้เรียนรู้เทคนิคที่ในการวิ่งมาราธอนก่อนที่จะลงแข่งนั้น จะทำให้สามารถวิ่งได้จนจบการแข่งขัน

เทคนิคการฝึกวิ่งมาราธอนก่อนที่จะลงแข่งขันจริงนั้น จะต้องใช้เวลาฝึกซ้อมก่อนแข่งประมาณ 8-16 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับระยะทางที่คุณได้ลงแข่ง โดยเริ่มในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ด้วยการใช้จังหวะการวิ่งช้าในอัตราการวิ่งที่สม่ำเสมอเป็นเวลา 30-60 นาที เพื่อที่จะได้รู้จังหวะในการวิ่งของตัวเองเสียก่อน และเป็นการปรับร่างกายตัวเองให้พร้อมรับการฝึก ในช่วงทำการฝึกจะต้องมีวันพัก วันหยุด บ้าง เพื่อให้ร่างกายได้รักษากล้ามเนื้อที่สึกหรอ สำหรับผู้ที่จริงจังนั้น จะมีตารางฝึกซ้อมที่ชัดเจนตลอดการฝึกซ้อม มีการเพิ่มในส่วนของเวทเทรนนิ่ง และอาหารเข้ามาร่วมด้วย

มือใหม่ทั้งหลายไม่ควรจะฝึกซ้อมแบบหักโหม หากมีอาการตึง บาดเจ็บ ก็ควรทำการพักให้หายเสียก่อน อย่าลืมว่างานวิ่งไม่ได้มีแค่งานเดียว มีให้คุณได้ลงแข่งทุกสัปดาห์ จะยืดรายการแข่งออกไปที่รายการอื่นก็ยังได้ นอกจากการฝึกซ้อมแล้วการพักผ่อน และทำใจให้สบายในคืนก่อนแข่ง มือใหม่ก็มักจะตกม้าตาย ตื่นเต้นจนนอนไม่หลับในคืนวันเสาร์ แผนที่ซ้อมมาจึงมีล่มไม่เป็นท่า เราแนะนำให้คุณงดกินของอะไรแปลก ๆ ไม่ทำกิจกรรมในช่วงกลางวันมากเกินไป ศึกษาเส้นทาง จุดเช็คอิน จุดบริการต่าง ๆ ให้ดี และใครมีโรคประจำตัว ก็พกยา จดเบอร์ติดต่อฉุกเฉินเอาไว้ด้วย

เมื่อได้ฝึกซ้อมเทคนิคสำหรับการวิ่งมาราธอนในระยะเวลาอันสั้นแล้ว เมื่อลงแข่งขันจริงร่างกายจะสามารถมีความอดทนพอที่จะวิ่งไปให้ถึงเส้นชัยได้อย่างสบาย แต่ถ้าหากต้องการที่จะได้รับชัยชนะในการแข่งขันนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาฝึก เทคนิคมากขึ้น และสม่ำเสมอในทุกวัน ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะวิ่งเพื่อชัยชนะหรือเพื่อร่วมสนุกในการแข่งขันสิ่งพิเศษที่ได้รับมามากกว่าสิ่งใด ๆ นั้นก็คือสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของตนเอง