post

6 เคล็ดลับ เตรียมความพร้อม ก่อนวิ่งมาราธอน

การวิ่งมาราธอนเป็นการวิ่งระยะไกล ที่ต้องใช้ความอึดทนพอสมควรจึงจะสามารถวิ่งไปถึงเส้นชัยได้ ดังนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมร่างกายให้ดี เพื่อให้พร้อมสำหรับการวิ่งมากขึ้นและลดความเสี่ยงการบาดเจ็บระหว่างวิ่งมาราธอนด้วย โดยเราก็มี 6 เคล็ดลับมาแนะนำกันดังนี้

1.ยืดกล้ามเนื้อก่อนวิ่ง

ไม่ว่าจะวิ่งระยะใกล้หรือระยะไกล ควรเริ่มจากการยืดกล้ามเนื้อก่อน เพื่อคลายความตึงของกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่น จึงวิ่งได้นานขึ้นโดยไม่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บนั่นเอง โดยแนะนำให้ทำท่ายืดเหยียดหลาย ๆ ท่าผสมกันไปประมาณ 15 นาที แล้วจึงค่อยเริ่มต้นวิ่ง

2.ทานอาหารที่มีประโยชน์

การทานอาหารที่มีประโยชน์ก็เป็นการเตรียมพร้อมให้กับร่างกายได้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และเพิ่มพลังงานให้ร่างกายมีความพร้อมสำหรับการวิ่งในระยะทางไกลมากขึ้น แต่ควรกินอาหารก่อนวิ่งอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้อาหารย่อยและไม่เกิดอาการจุกแน่นท้องขณะวิ่งนั่นเอง

3.พักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนน้อยจะส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลีย และไม่สามารถวิ่งมาราธอนให้ถึงเส้นชัยได้ ทั้งยังอาจเกิดการบาดเจ็บระหว่างวิ่งอีกด้วย ดังนั้นควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งใครที่ชอบเล่นคาสิโนออนไลน์บนเว็บ VWIN จนดึกเป็นประจำ ก็ต้องปรับเปลี่ยนเวลาการเล่นสักนิด เพื่อไม่ให้รบกวนเวลานอนจนเกินไป

4.ซ้อมวิ่งบ่อย ๆ

การจะเป็นนักวิ่งมาราธอนที่ดีได้ จะต้องหมั่นซ้อมวิ่งเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายเกิดความเคยชิน และสามารถวิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อต้องลงแข่งจริง ดังนั้นควรจัดตารางมาซ้อมวิ่งอยู่เสมอ ซึ่งการฝึกซ้อมวิ่งอาจวิ่งด้วยระยะทางเท่าไหร่ก็ได้ไม่ต้องเป๊ะมาก เอาตามที่ร่างกายไหว เพราะหากฝืนมากเกินไปก็จะเกิดอันตรายได้

5.เลือกรองเท้าให้เหมาะสม

การฝึกซ้อมและการมีทักษะในการวิ่งเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องเลือกรองเท้าให้เหมาะสมด้วย เพราะรองเท้าที่ดีจะทำให้คุณวิ่งมาราธอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย โดยควรเลือกรองเท้าที่สามารถรองรับการกระแทกได้ดี ออกแบบมาเพื่อการวิ่งระยะไกลโดยเฉพาะ ที่สำคัญควรมีความนุ่มสวมใส่สบายและระบายอากาศได้ดี ทั้งนี้การเลือกรองเท้าวิ่งที่ดีและเหมาะสมจะทำให้คุณมีชัยไปกว่าครึ่งเลยทีเดียว

6.พกน้ำดื่มติดตัวไปด้วย

น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญที่นักวิ่งมาราธอนจะขาดไม่ได้เลย เพราะเมื่อวิ่งด้วยระยะทางไกลเป็นเวลานาน ร่างกายอาจขาดน้ำจากการเสียเหงื่อและมีอาการกระหายน้ำได้ ดังนั้นจึงควรพกน้ำติดตัวไปด้วย จะได้หยิบออกมาดื่มได้ตลอดทางนั่นเอง

การจะวิ่งมาราธอนให้ไปถึงเส้นชัยได้สำเร็จ จะต้องมีการเตรียมความพร้อมหลาย ๆ อย่าง เพื่อส่งเสริมให้การวิ่งเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นมาเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองด้วย 6 เคล็ดลับเหล่านี้กันดีกว่า แล้วคุณจะกลายเป็นนักวิ่งมาราธอนมืออาชีพได้ไม่ยาก

post

รู้จักปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้นักวิ่งเกิดอาการบาดเจ็บได้

การวิ่งเป็นการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ แต่ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บได้ โดยเฉพาะนักวิ่งที่เพิ่งเริ่มวิ่งใหม่ๆ ที่ขาดการเตรียมตัวหรือศึกษาการเริ่มต้นวิ่งอย่างถูกต้อง

ทุกวันนี้การวิ่งถือเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมสูง นอกเหนือไปจากการวิ่งเป็นประจำทุกวัน นักวิ่งทั้งหลายยังให้ความสนใจไปวิ่งตามงานที่จัดขึ้น ทั้งแบบวิ่งส่งเสริมสุขภาพและแบบวิ่งทำการแข่งขันซึ่งหมุนเวียนจัดกันตลอดทั้งปี การวิ่งกลายเป็นเทรนด์สำหรับผู้คนช่วยกระตุ้นให้เกิดนักวิ่งหน้าใหม่และนักวิ่งอยากเข้าสู่วงการวิ่งมากขึ้น

แต่การเริ่มต้นโดยขาดหลักการที่ถูกต้องของนักวิ่งหลายคน ทำให้พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับอาการบาดเจ็บ ซึ่งมีทั้งที่เป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน และที่กลายเป็นการบาดเจ็บหนักๆ จนถึงขั้นต้องหยุดพักเพื่อทำการรักษาให้หายขาด ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการใช้งานกล้ามเนื้อขาที่ผิดวิธี ท่วงท่าการวิ่งที่ผิดพลาด และการดูแลร่างกายก่อนและหลังทำการวิ่งที่ขาดประสิทธิภาพ

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบาดเจ็บของนักวิ่งหรือผู้ออกกำลังกายด้วยการวิ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่

  1. ปัจจัยจากตัวนักวิ่งเอง ประกอบไปด้วย
    1. อายุของผู้วิ่ง ปกติแล้วอายุของคนเรามีความสัมพันธ์กับขนาดของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี ร่างกายยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ทำให้กล้ามเนื้อจะมีความทนทานน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่การฟื้นฟูของร่างกายรวดเร็วกว่า และเช่นเดียวกันในกลุ่มผู้สูงอายุ ร่างกายก็จะมีความเสื่อมถอยลงไป เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อ ร่างกายจะฟื้นตัวช้ากว่า
    1. สมรรถภาพร่างกายของนักวิ่ง ระดับของสมรรถภาพร่างกายนั้นถือเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ความสามารถในการใช้งานกล้ามเนื้อของแต่ละคนจะมีผลต่อการบาดเจ็บ ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงกว่า กล้ามเนื้อก็จะสามารถรับมืออาการบาดเจ็บได้มากกว่า
    1. โครงสร้างของร่างกาย ถือเป็นปัจจัยที่นักวิ่งแต่ละคนมีแตกต่างกันไป บางคนตัวใหญ่ น้ำหนักมาก เวลาวิ่งก็จะได้รับแรงกระแทกมากกว่าคนตัวเล็กหรือผอมบาง เช่นเดียวกันกับลักษณะรูปทรงของขา กระดูก ฝ่าเท้า รูปร่างเท้า ซึ่งมีผลให้นักวิ่งแต่ละคนมีโอกาสบาดเจ็บแตกต่างกันไป
    1. โภชนาการและวิธีทานอาหาร นักวิ่งที่ดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะเรื่องของการดูแลโภชนาการให้สอดคล้องกับการสร้างกล้ามเนื้อและการซ่อมแซมส่วนที่ใช้งานไป จะมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมต่อการวิ่งมากกว่านักวิ่งที่ละเลยการดูแลเรื่องสารอาหาร
    1. สภาพจิตใจ การออกกำลังกายโดยการวิ่งช่วยทำให้จิตใจปลอดโปร่งได้ แต่นักวิ่งที่วิ่งด้วยสภาวะจิตใจที่ไม่ดีก็อาจจะส่งผลกระทบในทางอ้อมเช่น ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อตึง หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หายใจไม่เป็นจังหวะหรือทำให้ความดันอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม
  2. ปัจจัยจากภายนอกที่ทำให้นักวิ่งบาดเจ็บได้
    1. ระยะเวลาในการวิ่ง การวิ่งที่กินเวลานานๆ โดยขาดการฝึกฝนหรือปรับสภาพร่างกายอย่างต่อเนื่องก่อนเกิดการใช้งานเกินกำลังที่ร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ จะรับมือได้ มักทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้น
    1. ความหนักหน่วงในการวิ่ง ตามปกติแล้วนักวิ่งจะค่อยๆ ปรับระดับของระยะทางที่วิ่งขึ้น แต่ก็จะมีบางคนที่มองข้าม โดยไปลงทำการวิ่งในระยะทางที่ไกลกว่าที่วิ่งเป็นประจำ การทำแบบนี้ร่างกายจะถูกใช้งานเกินขีดจำกัด และมักเกิดการบาดเจ็บในช่วงท้ายๆ ซึ่งเป็นผลเสียอย่างมาก
    1. สิ่งแวดล้อมในการวิ่ง เนื่องจากการวิ่งในแต่ละครั้ง สภาพถนนและสภาพอากาศมีผลไม่น้อยต่อระดับความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายบาดเจ็บ เป็นต้นว่าถนนที่มีความลื่น ไม่เรียบ หรือลาดเอียงสูง ทำให้นักวิ่งต้องใช้กล้ามเนื้อขามากกว่าปกติ นอกจากนี้ในการวิ่งที่ขนาดเส้นทางไม่สัมพันธ์กับปริมาณนักวิ่งก็อาจจะทำให้เกิดการชนหรือกระแทกกันจนบาดเจ็บได้

อาการบาดเจ็บเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จากการวิ่ง หากรู้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่สามารถทำให้บาดเจ็บได้ นักวิ่งก็สามารถหลีกเลี่ยงหรือหาวิธีการป้องกันตัวเองไว้ล่วงหน้าได้

post

รวม 7 จุดบาดเจ็บสามัญที่นักวิ่งมือใหม่ต้องเผชิญ

แม้ว่าการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ถึงอย่างนั้นก็มีบ่อยครั้งที่นักวิ่งก็ต้องเผชิญหน้ากับอาการบาดเจ็บจนทำให้ความสุขจากการวิ่งลดลง บางครั้งอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นก็เป็นเพียงความเจ็บปวดเล็กน้อย แต่ก็ยังมีอีกหลายอาการที่เป็นอันตรายในระยะยาว

นักวิ่งจำนวนมากมองว่าการวิ่งเป็นเพียงกิจกรรมง่ายๆ ที่มีเพียงแค่การออกตัววิ่งไปก็เรียกว่าวิ่งได้แล้ว นั่นทำให้พวกเขาประมาทต่อโอกาสเกิดการบาดเจ็บจากการวิ่งได้ แม้ว่าการบาดเจ็บของนักวิ่งจะมีจุดที่แตกต่างกันไป แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้บาดเจ็บนั้นมาจากจุดเริ่มต้นเดียวกัน กล่าวคือนักวิ่งจะมีช่วงเวลาที่ร่างกายลอยตัวจากระดับพื้น และตอนที่ขาสัมผัสพื้นจะเป็นตอนที่น้ำหนักถูกถ่ายจากร่างกายสู่ขาและลงสู่พื้นนั่นเอง ดังนั้นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องของร่างกายส่วนใดของขาที่รับน้ำหนักดังที่กล่าวไป ซึ่งบริเวณต่างๆ ที่มีโอกาสเจ็บขึ้นมาจากการวิ่งทั่วไปมี 7 ตำแหน่งด้วยกันได้แก่

  1. ต้นขาด้านนอก เป็นจุดบาดเจ็บที่เรียกว่า ไอทีแบนด์ ตำแหน่งที่ปวดคือกล้ามเนื้อต้นขาซึ่งเกิดจากการตึงเพราะยืดเหยียดจากการก้าวยาวๆ หรือก้าวลงเนินอย่างรวดเร็ว อาการบาดเจ็บบริเวณนี้ในบางรายต้องพักฟื้นกันนาน
  2. ต้นขาด้านหลัง ส่วนนี้เรียกว่าแฮมสตริง โดยทุกการเคลื่อนไหวของขา กล้ามเนื้อส่วนนี้จะมีการทำงานตลอดเวลา อาการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากการใช้งานหนักเกินไป หรือการหยุดกะทันหัน
  3. เอ็นร้อยหวาย เป็นหนึ่งในอาการเจ็บที่เกิดขึ้นได้ง่าย สามารถรับรู้ได้เมื่อปวดบริเวณข้อเท้าหรือแถวตาตุ่ม หลักๆ เกิดจากการแบกรับน้ำหนักที่เกิดจากการเดินหรือวิ่ง
  4. หน้าแข้ง เป็นบริเวณที่มักเกิดการบาดเจ็บในกลุ่มนักวิ่งที่ไม่เคยฝึกฝนหรือวิ่งเป็นประจำแล้วอยู่ๆ มาวิ่งระยะทางไกลๆ หรือวิ่งเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อและกระดูก
  5. หัวเข่า เป็นจุดที่เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้บ่อยครั้ง โดยเป็นปัญหาทางกายภาพเกี่ยวกับการทำงานของชุดเข่าและลูกสะบ้า ส่วนใหญ่มักอธิบายด้วยความรู้สึกว่า “หัวเข่ามันกึ๊ก” ถือเป็นหนึ่งในอาการเจ็บที่นักวิ่งชอบฝืนไปต่อเพราะคิดว่าไม่เป็นอันตราย
  6. น่อง อาการเจ็บบริเวณน่องถือเป็นอาการสามัญของนักวิ่งทุกคน โดยเกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณนี้ถูกใช้งานตลอดการวิ่งหรือเดิน มันเกี่ยวข้องกับเรื่องของการสร้างสมดุลในการวิ่งและการทรงตัว ซึ่งการเจ็บมีสาเหตุเนื่องมาจากเฉพาะตัวบุคคล เพราะแต่ละคนจะมีการเคลื่อนไหวและการรับน้ำหนักที่ต่างกันไป
  7. ส้นเท้า เป็นหนึ่งจุดบาดเจ็บที่เริ่มถูกพูดถึงกันอย่างหนาหูโดยเรียกว่า “อาการรองช้ำ” ซึ่งโดยมากเกิดจากการวิ่งแล้วลงน้ำหนักไปที่ส้นเท้าเป็นหลัก อาการบาดเจ็บตรงนี้จะแสดงออกด้วยการรู้สึกเจ็บแปลบเวลาเดินหรือลุกยืน

อาการบาดเจ็บเหล่านี้โดยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมในการวิ่ง เช่น การไม่วอร์มร่างกายให้พร้อมก่อนการวิ่งและไม่คลายกล้ามเนื้อหลังวิ่งเสร็จ, การไม่ประมาณตนเองในการวิ่ง โดยจู่ๆ ก็ไปหักโหมวิ่งระยะทางไกลๆ หรือวิ่งในแบบที่ยากกว่าปกติอย่างการวิ่งเทรลหรือวิ่งบนทราย หรือวิ่งเป็นเวลานานหรือระยะทางไกลโดยขาดการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ขณะเดียวกันก็เกี่ยวข้องกับลักษณะท่าทางในการวิ่ง เช่น การลงน้ำหนักของฝ่าเท้าที่ผิด การเลือกรองเท้าที่ออกแบบมาไม่รับกับรูปฝ่าเท้า

เมื่อเกิดบาดเจ็บแล้วนักวิ่งบางคนก็ใส่ใจในการค้นหาที่มาของอาการบาดเจ็บ ทำการรักษาและหาทางแก้ไข แต่มีนักวิ่งอีกจำนวนมากที่ละเลยการบาดเจ็บ โดยคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยและจะหายไปเองหากออกมาวิ่งอย่างสม่ำเสมอ นั่นคือการเปิดโอกาสให้การบาดเจ็บกลายเป็นปัญหาในระยะยาวได้ ดังนั้นเมื่อรู้สึกเจ็บจากการวิ่ง สิ่งสำคัญคือรีบหาคำตอบว่าทำไมบาดเจ็บและรีบรักษาทันทีจึงจะถูกต้อง

post

ใหม่-สด-หมาด ๆ กลีเซอรีน 17 จากบรู๊ค

สาว ๆ ขาวิ่งจำนวนไม่น้อยอดที่จะห่อปากร้องอู้วให้กับกลีเซอรีน 16 ซีรี่ย์ กลีเซอรีนจากค่ายบรู๊คไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่แค่รองเท้าสายวิ่ง แต่ยังเป็นผ้าใบคู่เก่งที่สามารถใส่ได้ทุกวัน แต่ถ้าได้สัมผัสกับกลีเซอรีน 17 คาดว่าจะยิ่งติดใจหลงใหลอย่างถอนตัวไม่ขึ้น

“มันให้ความรู้สึกอย่างกับเดินเหยียบหมอน” คำกล่าวของเทสเตอร์รายหนึ่งบรรยายถึงกลีเซอรีน 17 ไว้สั้น ๆ แต่เห็นภาพ เนื่องจากมันใช้มิดโซลแบบพิเศษของ Brooks DNA ที่ช่วยรองรับแรงกระแทก รองรับการลงน้ำหนักและรองรับสภาพผิวทางวิ่งที่หลากหลายแบบครอบคลุมไปหมด ซึ่งบรู๊คเคยอ้างอิงว่าร้องเท้ารุ่นอื่น ๆ ก็จะผลิตออกมารองรับผู้ใช้แบบเดียวตามรุ่นที่ผลิต แต่โฟม DNA ของบรู๊คจะตอบสนองต่อขนาดของแรงกระแทกในระดับที่ละเอียดอ่อนกว่า

บรู๊ค กลีเซอรีน 17 ได้เปลี่ยนอินโซลของรุ่นนี้เป็นออโธไลต์ที่มีอายุงานยาวนานกว่าแม้ว่าว่าจะใช้งานมากมันจะยังคงนุ่นเหมือนใหม่ และที่สำคัญมันถูกออกแบบให้คืนแรงในระหว่างวิ่งมากถึง 2 เท่าทำให้สามารถวิ่งได้ไกลขึ้นสำหรับสาว ๆ แม้แต่ในส่วนของขอบรองเท้าก็ถูกเพิ่มด้วยวัสดุหนาพิเศษที่นุ่มนิ่มและไม่เสียดสีข้อเท้าในเวลาวิ่ง

การออกแบบในเรื่องการรับแรงกระแทก บรู๊ค กลีเซอรีน 17 มีส้นรองเท้าที่ใช้เทคโนโลยี DNA Loft หนากว่ารุ่นก่อนหน้า แถมด้วยการเสริมวัสดุนิ่มพิเศษอย่าง BioMogo DMA เข้าไปตลอดความยาวรองเท้าทำให้มันนุ่นนิ่มมากขึ้น และการซอยปุ่มรับแรงกระแทกบนพื้นรองเท้าทำให้มันดูดซับแรงกระแทกได้ดี โดยเฉพาะการวิ่งลงไปบนพื้นผิวที่ไม่เรียบเสมอกันอย่างเช่นถนนกรวดหรือถนนปูหิน ที่สำคัญแม้แต่ในการวิ่งบนถนนเปียก ลื่นหรือจับน้ำแข็งก็ยังสามารถยึดเกาะได้ดีในระหว่างที่วิ่งอยู่ด้วย

ตัวอัปเปอร์ยังคงใช้เทคโนโลยีผ้าถักแบบตาข่าย โดยครั้งนี้มันมาในระบบสองชั้นแต่ยังสามารถถ่ายเทอากาศและความร้อนในระหว่างวิ่งได้ดี ทำให้มันมีความทนทานมากขึ้น และด้วยคุณสมบัติในการถ่ายเทอากาศที่ดีทำให้การวิ่งในวันที่อากาศร้อนกว่าปกติไม่สร้างความทรมานให้กับเท้ามากนัก

รูปลักษณ์ของกลีเซอรีน 17 ยังใกล้เคียงกับรุ่น 16 แต่การออกแบบมีลูกเล่นมากกว่าเล็กน้อย ในขณะที่รุ่น 16 ดูจะเรียบง่ายด้วยสไตล์สองสีนอกใน แต่รุ่น 17 จะเล่นกับการไล่ระดับสีและลวดลายตกแต่งผิวจากแบบตาข่ายหกเหลี่ยมจากพลาสติกโพลียูรีเทนที่ทำให้มันดูสะดุดตามากกว่า ซึ่งต้องบอกว่ามันดูดีกว่ารองเท้ากลีเซอรีนตั้งแต่รุ่น 15 ลงไปที่ถูกล้อเลียนว่าเป็นรถถัง

บรู๊ค กลีเซอรีน 17 เปิดโฉมหน้าให้เห็นไปเมื่อปลายเดือนที่แล้วในงานแสดงที่อเมริกา แต่จะวางจำหน่ายจริงต้องรอจนถึงเดือนมีนาคม และถูกคาดหมายว่าจะเป็นหนึ่งในรองเท้าวิ่งมาแรงสำหรับสาว ๆ ในปีนี้เสียด้วย

post

9 ข้อนักวิ่งหน้าใหม่ควรทำหากจะเริ่มวิ่ง

“ปีนี้ฉันจะเริ่มต้นวิ่งเป็นประจำ” หลายคนอาจจะบอกตัวเองอย่างนี้หรือตั้งเป้าหมายแบบนี้สำหรับปี 2019 ที่เพิ่งมาถึง และนี่คือ 9 คำแนะนำสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่

1. หารองเท้าที่เหมาะสำหรับวิ่ง

ในการวิ่งนั้นนักวิ่งต้องมีรองเท้าที่ตอบสนองต่อลักษณะการวิ่ง ซึ่งพิจารณาควบคู่กันระหว่างลักษณะของรูปเท้าและลักษณะของการลงเท้า เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างในทั้งสองเรื่อง บางคนเท้าแบน บางคนอุ้งเท้าสูง บางคนปลายเท้ากว้าง เช่นกันกับที่บางคนเดินลงน้ำหนักที่ส้นเท้าและบางคนเดินลงน้ำหนักบนฝ่าเท้า

2. วอร์มรองเท้าใหม่

เมื่อได้รองเท้าใหม่มา นักวิ่งควรสวมใส่เป็นเวลานาน ๆ สัก 3-5 วันก่อนใช้งานในการวิ่งจริง การสวมใส่ในชีวิตประจำวันจะช่วยปรับสภาพเท้าให้เคยชินกับรองเท้าใหม่ และช่วยปรับรูปของรองเท้าให้พร้อมในการใช้งานวิ่งระยะเวลานาน ๆ

3. กำหนดตารางวิ่ง

ในเบื้องต้นไม่ควรฝืนทำการวิ่งหักโหมหรือมากเกินไป เนื่องจากร่างกายที่ยังปรับสภาพต่อการออกกำลังกายไม่ได้จะส่งผลเสีย ให้เริ่มต้นวิ่งเป็นระยะเวลาไม่นานนัก จากนั้นเพิ่มขึ้นราว 10% ในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป วิธีการนี้จะทำให้ร่ายกายรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า

4. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

การยืดร่างกายก่อนการวิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ในส่วนนี้ท่ายืดที่ถูกต้องสำคัญกว่าจำนวนครั้งในการวอร์มร่างกายแต่ละเซต นักกีฬาส่วนใหญ่จะได้รับการแนะนำว่าไม่ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อท่าใดท่าหนึ่งค้างไว้นานเกิน 15 วินาทีเพราะมันกลายเป็นการสร้างความเครียดให้กล้ามเนื้อแทน ให้นึกว่ากล้ามเนื้อเหมือนยางยืดแช่แข็ง การทำให้ยางยืดตัวดีคือการค่อย ๆ นวดคลายไม่ใช่การออกแรงดึงหนัก ๆ

5. กำหนดแผนที่ในการวิ่ง

นักวิ่งหลายคนเลือกเส้นทางที่วิ่งเริ่มต้นจากที่บ้าน และหลายคนเริ่มต้นวิ่งที่สวนสาธารณะ พวกเขาจำเป็นต้องศึกษาเส้นทางเพื่อให้รู้ว่าเส้นทางที่ไปนั้นมีทางราบ ทางเนิน หรือผิวถนนเป็นอย่างไร ปริมาณรถหรือสัตว์เลี้ยงของเพื่อนบ้าน ซึ่งช่วยให้นักวิ่งรู้ตัวล่วงหน้าและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดโดยไม่รู้ตัว

6. เลือกความเร็วที่เหมาะสม

การวิ่งต้องเลือกระดับความเร็วในการวิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง ระดับที่เหมาะคือระดับที่สามารถวิ่งไปและคุยไปด้วยได้โดยไม่หอบหนัก ๆ หรือหายใจไม่ทัน ที่สำคัญการเลือกระดับความเร็วในการวิ่งสูงไปจะทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บ และมีผลให้หมดแรงจูงใจง่ายขึ้น

7. ค่อย ๆ ลดอัตราเต้นของหัวใจ

การวิ่งจนเหนื่อยมากไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง นักวิ่งต้องวิ่งในระดับที่พอหยุดวิ่งแล้วไม่รู้สึกว่าหัวใจเต้นแรงจนเกินไป การที่อัตราการเต้นของหัวใจสามารถลดระดับกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้เร็วช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตไม่ตกอยู่ในสภาพอันตราย และหัวใจไม่ทำงานหนักเกินไป

8. ยืดเหยียดคลายกล้ามเนื้อหลังวิ่งเสมอ

การคลายกล้ามเนื้อหลังวิ่งสำคัญพอ ๆ กับก่อนวิ่ง โดยหลักการทั่วไปแล้วอะไรที่เคยทำก่อนวิ่งก็สามารถทำได้หลังการวิ่ง

9. ดื่มน้ำให้มากพอ

จดจำว่าการสูญเสียน้ำมากเกินไประหว่างการวิ่งมีผลกระทบมากกว่าที่คิด ดังนั้นการดื่มน้ำที่มากพอจะช่วยรักษาสมดุลภายในร่างกายให้ไม่ลดต่ำมากจนเกิดอันตรายได้

post

สวิทเซอร์ ผู้เปลี่ยนแปลงบอสตันมาราธอนสู่ความเท่าเทียม

บอสตัน มาราธอน หนึ่งในหกมาราธอนใหญ่ของโลก ได้ก่อให้เกิดตำนานนักวิ่งหญิงขึ้นมาหลายคน แต่คนที่ต้องถูกจดจำมากที่สุดเพราะเป็นผู้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหญ่ต้องเป็น “แคทรีน สวิทเซอร์”

ย้อนไปในวันที่ 5 มกราคม 1947 หนูน้อยแคธี่ถือกำเนิดขึ้นในเมืองอัมเบิร์ก เยอรมนี ที่ซึ่งพ่อแม่อยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้กองทัพสหรัฐประจำฐานทัพที่ยุโรป สองปีต่อมาจึงได้เดินทางกลับมายังอเมริกา ใช้ชีวิตตามลำดับจนเข้าเรียนที่ซีราคิวส์ ยูนิเวอร์ซิตี้ในปี 1967 ซึ่งขณะนั้นบอสตัน มาราธอนเป็นการแข่งขันมาราธอนที่ฝ่ายจัดยังไม่อนุญาตให้นักวิ่งหญิงลงทำการแข่งขัน

หนึ่งปีก่อนหน้านั้น บอสตัน มาราธอนมีนักวิ่งหญิงแอบลงทำการวิ่งท่ามกลางหมู่นักกีฬาชาย เธอชื่อบ็อบบี้ กิ๊บบ์ แต่ในปี 1967 สวิทเซอร์ลงทำการแข่งขันแบบมีบิบหมายเลขติดบนตัว บิบหมายเลข 261 เกิดจากการสมัครลงวิ่งในสังกัดซีราคิวส์ แฮร์เรียส แอทเลติก คลับ หรือชมรมนักกีฬาของสถาบันที่สวิทเซอร์เรียนอยู่ในขณะนั้น การกรอกใบสมัครของเธอระบุว่าเพศเป็นกลางโดยใช้ชื่อย่อว่า K.V. Switzer นอกจากจะผ่านขั้นตอนการตรวจใบสมัครแล้ว ในการตรวจตราของวันงานที่เกิดกว่าการดูแลทั่วถึงทำให้สวิทเซอร์หลุดรอดสายตาฝ่ายจัดการแข่งขันจนกระทั่งเธอเริ่มออกวิ่ง

จ็อค เซมเปิ้ล ช่างภาพของฝ่ายจัดการแข่งขันเป็นคนที่สังเกตเห็นเธอ  เขาพยายามพุ่งตัวเข้าไปคว้าแคทรีนเพื่อจะเอาบิบออกจากตัวเธอให้ได้ ในขณะที่ปากก็ตะโกนว่า “เอานังปิศาจนั้นออกไปจากการแข่งขันของฉัน แล้วเอาเบอร์นั่นมาเดี๋ยวนี้” แต่ทอม มิลเล่อร์ นักอเมริกันฟุตบอลและนักขว้างค้อนที่ลงวิ่งมาข้างแฟนสาวของตัวเองคว้าตัวเซมเปิ้ลแล้วเหวี่ยงไปบนฟุตบาทได้

แคทรีน สวิทเซอร์วิ่งจนจบการแข่งขันของบอสตัน มาราธอนด้วยเวลา 3 ชั่วโมง 7 นาที 29 วินาที เป็นลำดับที่ 59 จากทั้งหมด และมันทำให้สมาคมนักกีฬาสมัครเล่นของอเมริกาและสมาคมนักกีฬาของบอสตันไม่พอใจ พวกเขาสั่งห้ามผู้หญิงลงแข่งขันมาราธอนทุกรายการร่วมกับนักวิ่งชาย

“ผู้หญิงจะมาวิ่งในมาราธอนไม่ได้เพราะกฏมันห้ามไว้ ถ้าไม่มีกฏสังคมมันต้องวุ่นวายแน่ ผมไม่ได้ออกกฏแต่ผมพยายามรักษามัน เราไม่มีที่ว่างในมาราธอนสำหรับคนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้วิ่ง ถ้าผู้หญิงคนนั้นเป็นลูกสาวผม ผมจะฟาดเข้าให้” วิล โคลนี่ย์ ผู้อำนวยการของบอสตัน มาราธอนในตอนนั้นกล่าวถึงเรื่องนี้

เมื่อเป็นเช่นนั้น การรณรงค์เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ที่เท่าเทียมกันโดยสวิทเซอร์และนักวิ่งหญิงคนอื่นก็เริ่มขึ้น จนกระทั่ง 5 ปีต่อมา การแข่งขันบอสตัน มาราธอนก็ดำเนินการแก้ไขกฏให้นักกีฬาหญิงสามารถลงแข่งขันบอสตัน มาราธอนได้อย่างเป็นทางการ

“ฉันรู้ว่าถ้าฉันโดยเอาออกจากการแข่ง จะไม่มีใครเชื่อว่าผู้หญิงวิ่ง 26 ไมล์กว่าได้ ถ้าฉันออก ทุกคนจะพูดว่าก็แค่มาวิ่งโชว์ตัว ถ้าฉันเลิกวิ่ง โลกของนักกีฬาผู้หญิงจะดันถอยหลังแทนที่จะพุ่งไปข้างหน้า ถ้าเลิกฉันจะไม่มีโอกาสวิ่งบอสตันอีก จ็อค เซมเปิ้ลและคนแบบเขาก็จะชนะ ความกลัวและความอัปยศนั้นกลายเป็นพลังความโกรธของฉัน” แคทรีนเล่าถึงสิ่งที่เธอคิดในวันนั้น

ห้าสิบเอ็ดปีต่อมาที่บอสตัน มาราธอน จำนวนผู้สมัครวิ่งหญิงมีถึง 13,000 คน เทียบกับวันที่เธอเป็นนักวิ่งหญิงเพียงคนเดียวมันต่างกันราวฟ้ากับเหว

แคทรีน สวิทเซอร์ได้รับยกย่องจากนิตยสารรันเนอร์ เวิร์ลด์ให้เป็นนักวิ่งหญิงแห่งทศวรรษ (1967-1977) ในปี 2013 ที่เธอกลับไปเข้าร่วมงานวิ่งที่บอสตัน มาราธอน เธอเล่าแบบติดตลกว่าไหล่ของเธอเปียกไปหมดเพราะผู้หญิงมากมายที่เข้ามากอดและร้องไห้ด้วยความยินดี สิ่งที่แคทรีนทำได้เปลี่ยนโลกของผู้หญิง พวกเธอทำให้โลกเห็นว่าทำอะไรได้บ้าง รวมไปถึงสิ่งที่ยากอย่างการวิ่งมาราธอน

post

ยอดแบร์ฟุต Vibram ควรโดนจัด 2019

นักวิ่งจำนวนมากเริ่มกลับไปสู่วิธีการวิ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นคือการวิ่งลงน้ำหนักด้วยปลายเท้าหรือหน้าเท้าก่อนที่จะลงส้นเท้า ซึ่งการวิ่งแบบนี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจากการวิ่งเท้าเปล่า ซึ่งสวนทางกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เอาไปพัฒนาร้องเท้าวิ่งให้สามารถรับแรงกระแทกที่ส้นเท้ามากขึ้น

การวิ่งเท้าเปล่า (Barefoot) เลยเป็นเหมือนการกลับไปสู่ตัวตนของมนุษย์ในวันที่การวิ่งยังไม่ได้ต้องการอะไรมากมายเหมือนที่รองเท้าวิ่งสมัยใหม่มอบให้ การวิ่งแบบเท้าเปล่าเลยถูกเรียกอีกอย่างว่าเป็นพวก minimalist หรือน้อยที่สุด-ดีที่สุด

รองเท้าที่ใช้งานสำหรับนักวิ่งเท้าเปล่าจึงถูกพัฒนาขึ้นมาและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งสุดยอดของแบร์ฟุตที่ถูกหมายตาว่าจะเป็นที่นิยมสูงสุดในปี 2019 ทั้ง 4 สายวิ่งมีดังนี้

แบร์ฟุตสายถนน : Vibram FiveFingers V-Run Running Shoes

Vibram รุ่นนี้มาพร้อมพื้นรองแรงกระแทกความหนา 8 มิลลิเมตรที่ช่วยป้องกันฝ่าเท้าจากการวิ่งบนถนนและทางราบทั่วไปดีขึ้น อัปเปอร์ของมันทำงานใยผ้าตาข่ายโพลีเอสเตอร์ที่ช่วยให้เท้าของนักวิ่งสัมผัสได้ถึงความเย็นสบายและแห้งอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญการออกแบบยังทำให้ไม่รู้สึกแตกต่างไปจากการวิ่งด้วยเท้าเปล่าเพราะการสัมผัสของหน้าเท้ากับพื้นยังเป็นไปอย่างยอดเยี่ยม

แบร์ฟุตสายครอสคันทรี่ : Vibram FiveFingers Men’s KSO EVO Cross Training Shoes

Vibram รุ่นนี้มาแบบล้น ๆ ความคุ้มค่า ทั้งเรื่องใส่สบาย คล่องตัว ราคาน่ารักและประสิทธิภาพใช้งานเยี่ยม เป็นรุ่นที่มีความยืดหยุ่นสูงสามารถใช้บนพื้นถนนทั่วไปก็ได้ แต่ถ้าเป็นเส้นทางแบบครอสคันทรี่ที่ต้องการการรักษาบาลานซ์ร่างกายมากกว่ามันช่วยให้สัมผัสถึงพื้นที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าได้ดีกว่า รวมไปถึงการที่โฟม KSO EVO ช่วยป้องกันภัยจากเศษซาก เศษหินแหลมและกิ่งไม้แห้งได้ดีทำให้คุณสามารถวิ่งได้อย่างมั่นใจ

แบร์ฟุตสายเทรล : Vibram FiveFingers Men’s V-trail Runner

รุ่นนี้นำเสนอทุกความต้องการของสายเทรล มันตอบสนองต่อการปีนป่ายไปบนก้อนหินและเศษสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย โดยการเพิ่มความหนาของพื้นรองเท้ามากสุดเท่าที่ยังรู้สึกสัมผัสได้ว่าเหมือนการเดินเท้าเปล่า ซึ่งทำให้มีปุ่มป้องกันฝ่าเท้าสัมผัสพื้นโดยตรงกระจายอยู่เต็มตั้งแต่ส้นเท้าถึงปลายเท้า

แบร์ฟุตสายไฮกิ้ง : Vibram FiveFingers Trek Ascent

ขาแรงเดินป่าต้องไม่พลาดตัวนี้ เมื่อ Vibram Trek Ascent มาพร้อมยาง EVA หนา 4 มิลลิเมตรที่ให้ทั้งน้ำหนักเบา กันกระแทกและรับดูดซับแรงสะเทือนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ในส่วนเอ้าท์โซลและอัปเปอร์ที่แนบสนิทกับตัวเท้าอย่างมิดชิด ยังช่วงให้มั่นใจว่าจะไม่มีก้อนกรวดหรือสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในรองเท้าอีกด้วย

post

6 สิ่งที่การวิ่งมีผลต่อร่างกายคุณมากกว่าการเดิน

ในการพุ่งตรงไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะ คุณจะพบทั้งคนที่มาวิ่งออกกำลังกาย และคนที่มาเดินออกกำลังกาย เพราะทุกคนรู้ดีว่าการเดินและวิ่งต่างเป็นการออกกำลังกายที่เราเรียกว่า คาร์ดิโอ ทั้งคู่ ผลของการคาร์ดิโอนั้นทำให้ระบบไหลเวียนเลือดถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ระบบเผาผลาญทำงานและกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง

แต่ว่าที่จริงแล้วการวิ่งนั้นให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการเดินมาก ซึ่ง 6 ข้อดีต่อไปนี้อาจที่ทำให้คุณอยากลองเปลี่ยนการเดินเป็นการวิ่ง

1. เดินทำให้คุณลงน้ำหนักทั้งเท้ามากกว่าที่ส้นเท้า

ทั้งการเดินและการวิ่ง ร่างกายได้ใช้งานกล้ามเนื้อมัดใหญ่พอ ๆ กัน แต่ในขณะที่ออกกำลังกายด้วยการเดิน เราจะลงน้ำหนักบนฝ่าเท้าไปพร้อมกับที่ลงส้นเท้า ซึ่งมันทำให้เอ็นร้อยหวายต้องรับแรงตึงมากกว่าเวลาที่จ็อกกิ้งหรือสปรินต์ เพราะแรงถูกถ่ายทอดจากส้นเท้าไปยังปลายเท้าอย่างมีจังหวะ การเดินทำให้เอ็นร้อยหวายจึงมีโอกาสได้รับการบาดเจ็บมากกว่า

2. เดินทำให้ข้อต่อทำงานหนักกว่า

การวิ่งด้วยท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยเสริมการส่งและรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการวิ่งที่เอียงตัวโน้มร่างกายไปข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนเท้าขณะที่วิ่งช่วยทำให้ร่างกายพุ่งออกไป แต่การเดินต้องใช้แรงเพื่อส่งตัวเองมากกว่า ข้อต่อก็จะทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างแรงดันหรือผลักตัวเอง

3. เดินทำให้เจ็บได้ง่ายกว่า

การวิ่งสร้างแรงปฏิกิริยากับพื้นมากกว่าการเดิน ถ้าวิ่งด้วยฟอร์มที่ถูกต้องกล้ามเนื้อ ข้อต่อและเส้นเอ็นจะได้รับพลังงานที่เกิดจากการกระทำระหว่างเท้ากับพื้นและเอาไปช่วยให้มีแรงส่งตัวมากขึ้น (แต่ถ้าวิ่งผิดท่าก็สามารถทำให้บาดเจ็บได้มากกว่า)

4. วิ่งสร้างมวลกระดูกได้มากกว่า

ในการวิ่งนั้นร่างกายจะมีการใช้งานส่วนต่าง ๆ มากกว่า ซึ่งส่งผลให้เกิดกระบวนการเสริมสร้างและซ่อมแซมร่างกายโดยอัตโนมัติ ซึ่งการวิ่งได้ช่วยทำให้มวลกระดูกมากขึ้น การไหลเวียนเลือดดี และทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่าง ๆ เพิ่มความแข็งแกร่งในตัวมันเองเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการการใช้งานหนักที่เกิดจากการวิ่งมากกว่าเดิม

5. วิ่งทำให้ใช้พลังงานที่เยอะกว่า

การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องของการวิ่งถูกวิจัยออกมาว่าใช้พลังงานมากกว่าการเดินตั้งแต่สองเท่าถึงสองเท่าครึ่ง นั่นหมายความว่าในเวลาที่เท่ากัน การวิ่งช่วยเผาผลาญพลังงานเยอะกว่า จริงอยู่ว่ามันก่อให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยมากกว่า แต่สำหรับการเผาผลาญแคลลอรี่และเปลี่ยนมันเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการ หรือนำไปสู่การเอาสารอาหารที่สะสมในร่ายกายมาใช้ได้มากกว่าก็ช่วยให้สุขภาพดีขึ้นเร็วกว่า

6. วิ่งมีผลดีต่อฮอร์โมน

ในระยะยาว การวิ่งช่วยในเรื่องของคนที่บกพร่องด้านฮอร์โมนได้เป็นอย่างดี เพราะร่างกายจะปรับตัวเองให้สามารถควบคุมฮอร์โมนที่ผลิตออกมาโดยเฉพาะจากต่อมไทรอยด์ที่สร้างผลเสียต่อร่างกาย เพราะปกติต่อมไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนขึ้นจากภาวะเครียด ซึ่งมันแยกไม่ออกว่าวิ่งชิล ๆ หนึ่งชั่วโมงกับวิ่งหนีเสือหนึ่งชั่วโมงต่างกันอย่างไร ดังนั้นการวิ่งจะกระตุ้นให้ร่างกายเรียนรู้ว่าแอ็คชั่นที่เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งใด และมันจะปรับความเข้าใจของต่อมไทรอยด์ได้ในระยะยาวนั่นเอง

post

ของดีสายถนน 2018 : Brooks Ghost 11

รองเท้าวิ่งก็เหมือนอาวุธประจำกายของนักวิ่ง การเลือกรองเท้าให้เหมาะกับการใช้งานจึงถือว่าเป็นหัวใจอย่างหนึ่งที่นักวิ่งต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะการที่รองเท้าสำหรับวิ่งบนพื้นเรียบมีหลากหลายยี่ห้อและหลากหลายรุ่น การเลือกรองเท้าหนึ่งคู่ควรตัดสินใจให้ดี

ในปี 2018 ที่ผ่านมา บรรดากองบรรณาธิการ นิตยสาร Runner’s World เก็บรองเท้ายี่ห้อ Brooks ในรุ่น Ghost เข้าลิสต์รายชื่อรองเท้าที่ดีสำหรับวิ่งทางเรียบไว้ถึง 7 อันดับ แต่เมื่อคัดเลือกเพียงหนึ่งเดียว Brooks Ghost 11 เป็นรองเท้าที่เห็นตรงกันว่าควรได้รางวัล Editor’s Choice เนื่องจากมันตอบโจทย์นักวิ่งทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่

ตอนที่ Brooks ส่งรุ่น Ghost ออกมาสู่สายตาเหล่านักวิ่ง ทุกคนก็ค่อนข้างมองว่ามันดีพอเพียงอยู่แล้ว แต่ Ghost รุ่นก่อนหน้าเวอร์ชั่น 11 ก็ยังไม่ทำให้บริษัทพึงพอใจ พวกเขากลับไปปรับปรุงเพิ่มจนได้รุ่นที่ 11 ออกมา

Midsole รุ่น Ghost 11 ถูกปรับปรุงให้มีความเบามากยิ่งขึ้นโดยที่ไม่เสียความนุ่มหรือคุณสมบัติเด้งตัว โดยใช้โฟมที่เรียกว่า “DNA Loft” ซึ่งใช้ครั้งแรกในรุ่น Glycerin 16 แทนของเก่า โฟมตัวนี้ทำให้นักวิ่งสามารถวิ่งได้อย่างมั่นคงขึ้น ขณะเดียวกันก็ไม่ส่งผลต่อน้ำหนักรองเท้า แต่นักวิ่งทดสอบหลายคนก็มองว่ารู้สึกไม่ได้แตกต่างจากรุ่นก่อน ๆ

Better Shock Absorption ในส่วนของความรู้สึกได้ถึงแรงสะเทือนขณะวิ่ง เทสเตอร์ลงความเห็นสอดคล้องกันว่ามันมีประสิทธิภาพขึ้น จังหวะการลงเท้าจนถึงการถีบเท้าสืบตัวออกไปค่อนข้างไหลลื่น โดยเฉพาะการลงน้ำหนักของส้นเท้าให้ความรู้สึกนุ่มกว่า แม้จะไม่ทำให้เห็นผลในการวิ่งเร็วขึ้น แต่นักทดสอบบอกว่ามันช่วยให้วิ่งในระยะทางไกลได้มากขึ้น

Outsole พื้นรองเท้าด้านล่างของ Ghost 11 มีร่องลึกจำนวนมาก ทำให้มันสามารถที่จะวิ่งในสภาพผิวเปียกน้ำโดยไม่ลื่นได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกับพื้นร้องเท้าถูกออกแบบมาให้วิ่งบนสภาพถนนทั่วไปได้หมด แม้แต่ในการใช้วิ่งเทรล ร่องที่กว้างก็ช่วยให้วิ่งผ่านเลน หญ้าเปียกหรือกรวดได้อย่างมั่นคง

Upper ตัวรองเท้าได้รับการออกแบบมาให้กระชับกับหลังเท้ามากขึ้น ปลายรองเท้าโก่งหนาช่วยให้มีช่องว่างสำหรับการขยับเท้าได้ในเวลาต้องการ แต่การที่ถูกออกแบบใหม่เพื่อใช้งานมัลติฟังก์ชั่นทำให้ส่วนที่เป็นผ้าถักรูตาข่ายลดน้อยลงไปจากรุ่น 10 มันจึงมีความสามารถในการระบายอากาศลดน้อยลง

Brooks Ghost 11 แม้จะได้รับทั้งคำชื่นชมและข้อตำหนิจากเหล่านักเทสต์ แต่สุดท้ายมันก็ผ่านความเห็นร่วมว่าเป็นรองเท้าที่กองบรรณาธิการของ Running’s World ยกให้เป็นรองเท้าสายถนนที่พวกเขาอยากให้ใช้

post

ที่สุดสายสปีด 2018 : Reebok Floatride Run Fast

การเลือกรองเท้าให้เข้ากับสไตล์การวิ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้วิ่งได้ดีขึ้น ยิ่งสำหรับนักวิ่งสายทำความเร็วแล้ว การมีรองเท้าที่เหมาะแก่การสับสปีดยาว ๆ เป็นเหมือนมีอุปกรณ์พิเศษที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการวิ่งระยะยาวได้

ในปี 2018 ที่ผ่านมา นิตยสาร Runner’s World ไม่พลาดที่จะคัดเลือกรองเท้าวิ่งสายเน้นทำความเร็วว่ายี่ห้อและรุ่นไหนโดดเด่นเป็นพิเศษ ซึ่งรางวัลยอดเยี่ยมเหมาะสมกับราคาเป็นของ Reebok Floatride Run Fast Pro แม้ว่าจำนวนของ Nike Vapor Fly 4% ที่ขายในตลาดจะขายได้มากกว่า แต่ด้วยคุณสมบัติบวกราคานิตยสารจัดให้ Run Fast Pro เฉือนไปแบบนิด ๆ

งานนี้รีบ็อคเลือกใช้วัสดุเป็นเม็ดเทอร์โมพลาสติกอย่างเบาที่เรียกว่า Pebax แบบเดียวกันกับ Vapor Fly 4% ซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าโฟมพื้นฐานที่ใช้ทำรองเท้าวิ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แถมยังรับการกระแทกได้ดีขึ้น รวมไปถึงการลดทอนการเสียพลังงานในขณะวิ่งได้ดีกว่าด้วย แม้ว่าความหนาของโฟมรองเท้าจะไม่ได้มากกว่ารองเท้าวิ่งทั่วไป แต่ก็มีความทนทานมากกว่ารองเท้าที่ทำมาเพื่อนักวิ่งเร็วประเภทลู่โดยเฉพาะ

Midsole ตัวพื้นรองรับเท้าของรุ่น Floatride Run Fast Pro ค่อนข้างจัดว่าบาง แต่ก็เสริมทั้งในส่วนของ Drop รองอุ้งเท้าให้สูงขึ้นเพื่อกระชับอุ้งเท้ามากกว่า ขณะเดียวกันก็เสริมขอบด้วยโฟม EVA Rim เพื่อให้มันคงรูปได้ดีเป็นพิเศษและล็อคเท้าให้อยู่ในจุดที่ควรอยู่คือบน Floatride Foam

Outsole พื้นรองเท้าด้านล่างสุดทำด้วยยางเบาแบบปรุ ถูกทดสอบกับหลายสภาพผิวถนนว่าทำความเร็วได้สูง ขอบด้านนอกและส้นเท้าถูกเสริมหนาพิเศษเพื่อให้รองเท้ามีความทนทานมากขึ้นเมื่อเอามารวมกับในส่วนของตัวรับแรงกระแทก ในการวิ่งจะรู้สึกเหมือนเด้งแบบมีสปริง

Upper ตัวรองเท้าเป็นผ้าถักทอไร้ตะเข็บแบบตาข่ายระบายอากาศจำนวนมาก ปลายรองเท้าแคบ ดูเป็นรองเท้าที่ค่อนข้างเพรียวแต่ไม่คับ ตัวผ้าตาข่ายอัปเปอร์บางเบาและยืดหยุ่นทำให้สามารถขยับนิ้วได้สะดวก นอกจากนี้มันยังมีลิ้นรองเท้าที่ทำให้เท้านักวิ่งยึดติดกับศูนย์กลาง ข้อดีอีกอย่างของ Floatride Run Fast คือการที่มันไม่อมน้ำมากนัก ทำให้ความรู้สึกว่ารองเท้าหนักในวันที่ฝนตกหรือเปียกน้ำลดลงไป

Reebok Floatride Run Fast Pro ได้รับคำแนะนำจากนักรีวิวว่าเหมาะอย่างยิ่งในการสวมใส่สำหรับวิ่งฮาล์ฟ มาราธอนและฟูล มาราธอน ด้วยความที่มันมีน้ำหนักเบาแค่ราว 200 กรัม มีเทคโนโลยีลดแรงกระแทกและตัววัสดุพื้นช่วยเสริมแรงเด้งในจังหวะเปลี่ยนสเต็ป ใส่ไว้นานก็สบายเท้าเพราะไม่เก็บความร้อน ที่สำคัญราคาถูกกว่า Nike Vapor Fly 4% ที่มีคุณสมบัติอย่างเดียวกันถึง 60-70%